ในผู้ป่วยที่ทานอาหารได้ และแพทย์สั่งให้เพิ่มโปรตีนทางอาหาร
เราสามารถที่จะเพิ่มได้โดยทำอาหารที่หลากหลาย เพื่อความอร่อยและได้โปรตีนด้วย ในบางครั้งเราอาจจะนึกไม่ถึงว่า
ของกินบางอย่างให้โปรตีนสูง เช่น โยเกิร์ต เป็นต้น
ภาพประกอบจาก : http://www.sharecare.com/health |
1. เนื้อสัตว์: ปลาเป็นการเพิ่มโปรตีนให้ร่างกายที่ตรงไปตรงมา
เพราะเรารู้ดีว่า โปรตีนมาจากเนื้อสัตว์ แนะนำให้รับประทานปลาจะเป็นการดีที่สุด เข้าใจว่ามีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นวิธีปกติ
หรือ การทานกับสลัด หรือแม้แต่การทำขนม
เช่นพวกพายเป็นต้น
2. เนยแข็ง: นำมาวางบนขนมปังแซนด์วิช อบให้ละลาย
หรือใช้เป็นส่วนผสมในการทำขนมปัง พาย
ผสมใน ซุป ซอส มันบด ข้าว หรือ ก๋วยเตี๋ยว
หรือที่เราคุ้นเคยคือเพิ่มในอาหารประเภทพาสต้า มักกะโรนี
ผสมในอาหารประเภทไข่ เช่น ไข่เจียว ไข่คน
3. เนยถั่ว: เป็นโปรตีนที่ทำทานง่ายๆ เป็นอาหารเช้า หรือตอนไหนก็ได้
เพียงแต่ทาบนขนมปังแซนด์วิช ขนมปังอบ ขนมปังกรอบ มัฟฟิน วาฟเฟิล แพนเค้ก
หรือทานร่วมกับผลไม้ บางครั้งนำมาปั่นกับนมทำเป็นเครื่องดื่ม หรือใส่บนไอศครีม
บางคนก็จะนำมาจิ้มกับผัก เช่น แครอท
4. นม: ดื่มนมแทนน้ำ ชงร่วมกับเครื่องดื่ม ซุป โกโก้ หรือผสมธัญญาหาร
5. นมผงไม่มีมันเนย: ผสมในเครื่องดื่มนม
ใช้ในการปรุงอาหาร ครีมซุป ขนมหวาน ขนมปัง
6. ไอศกรีม โยเกิร์ต: ใส่ในเครื่องดื่มโซดา ใส่ร่วมกับเครื่องดื่ม เช่นนมปั่น
หรือทำเป็นเครื่องดื่ม โดยปั่นร่วมกับผลไม้ เช่น กล้วย ถ้าแช่เย็นจะอร่อยมาก ทานร่วมกับผลไม้ วุ้น พาย
7. ไข่: สามารถทำได้ในทุกรูปแบบที่เราชอบทานอยู่แล้ว
แต่สามารถเสริมได้ในอาหารอื่น เช่น ต้มไข่ หั่นใส่ในสลัดผัก หรือนำมาทำน้ำสลัด เพิ่มในแพนเค้ก หรือ
ขนมปังอบ แต่ควรหลีกเลี่ยงการกินไข่ดิบ
8. ถั่ว: เมล็ดพืชต่างๆ
อยากทราบว่าอาหารทุกชนิท่ีรับประทานจะต้องร้อนหรืออุ่นหรือเปล่าค่ะ
ตอบลบปริมาณโปรตีนต้องเพิ่มกี่มากน้อย
จำได้ว่าหมอให้ทานอาหารทุกชนิดมิได้เน้นโปรตีน
หมอที่เคยรักษาพ่อยู่ต่างจังหวัด
ขอตอบตามนี้ครับ
ลบอาหารที่ผู้ป่วยรับประทานควรเป็นอาหารที่ปรุงสุก สะอาด และไม่เก็บค้างครับ เนื่องจากในการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการต่างๆ ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติครับ อย่างไรก็ตามไม่ได้มีข้อห้ามในการรับประทานอาหารที่เย็น เพียงต่อขอให้อาหารที่สะอาดครับ เช่น ไอศครีมที่ถูกสุขลักษณะ ก็สามารถรับประทานได้ครับ
ส่วนอาหารที่รับประทานนั้น เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วครับ ที่จะต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพียงแต่โปรตีนมีความสำคัญเป็นพิเศษในกระบวนการต่างๆ ของร่างกายในการที่จะต่อสู้กับตัวโรค และการรักษา เช่นการสร้างเม็ดเลือด การหายของแผลหรือระบบภูมิคุ้มกันครับ สำหรับปริมาณของโปรตีนที่ต้องเพิ่มให้ผู้ป่วยนั้น แตกต่างกันตามสภาวะของผู้ป่วยแต่ละรายครับ และในผู้ป่วยที่มีโรคร่วมบางอย่าง เช่นโรคไต อาจจะเป็นข้อจำกัดในการเพิ่มโปรตีนครับ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาครับ
ขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำค่ะเป็นทางเลือกท่ี่ลดความเบ่ือาหารเดิมๆ
ตอบลบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงที่ท่านกรุณาตอบและแนะนำให้เข้าใจค่ะ
ตอบลบโปรตีนเกษตรก็คงได้นะฮะ่
ตอบลบขอบคุณค่ะจะจัดให้ตัวเองทานอาหารดีๆค่ะ
ตอบลบ