วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560

SBRT เพิ่มอัตราอยู่รอดผู้ป่วยมะเร็งปอด

                       
ภาพประกอบจาก: http://www.tennesseecancerspecialists.com

การนำ SBRT มาใช่ในการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราอยู่รอดผู้ป่วยมะเร็งปอด เป็นข่าวเด่นในการประชุมประจำปี ของ American Society for Radiation Oncology หรือสมาคมรังสีมะเร็งวิทยา สหรัฐอเมริกา ในปี 2016 ที่ผ่านมา โดยนำมาด้วยความหวังว่า New Treatments, New Hope หรือ แนวทางการรักษาใหม่ ความหวังใหม่ จากการใช้เทคนิค SBRT หรือ Stereotactic Body Radiation Therapy (SBRT) ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอด ชนิด Non-Small Cell Lung Cancer
                      
รังสีรักษาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งมาเป็นเวลามากกว่า 100 ปี เริ่มจากรังสีเอ็กซ์ (X-Ray) รังสีโคบอลท์  รังสีจากเครื่องเร่งอนุภาค จากเทคนิค 2 มิติ เป็น 3 มิติ พัฒนาต่อเนื่องในเทคนิคที่ท่านอาจจะเคยได้ยิน ในชื่อย่อว่า IMRT รังสีแปรความเข้ม หรือ IGRT รังสีภาพนำวิถี
                    
การฉายรังสีร่วมพิกัด เป็นเทคนิคการฉายรังสีชนิดหนึ่ง ซึ่งจะรวมลำรังสีไปยังก้อนเนื้องอกโดยต้องอาศัยการใช้ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์  เพื่อกำหนดตำแหน่งเป้าหมายการรักษา การฉายรังสีร่วมพิกัดที่รู้จักกันดี จะเป็นรังสีศัลยกรรมร่วมพิกัด Stereotactic Radio Surgery (SRS) ที่เป็นการฉายรังสีปริมาณสูงที่ก้อนเนื้องอกบริเวณศีรษะหรือไขสันหลัง โดยให้การฉายรังสีเพียง 1-5 ครั้ง ต่อมาพัฒนามาเป็น รังสีร่วมพิกัดบริเวณลำตัว Stereotactic Body Radiation Therapy (SBRT) เป็นการฉายรังสีปริมาณสูงที่ก้อนบริเวณลำตัวเช่น ปอด ตับ หรือต่อมลูกหมาก เป็นต้น โดยใช้การฉายรังสี 1-5 ครั้งเช่นกัน

ความก้าวหน้าในปี 2016 ที่นำมาสู่มาตรฐานใหม่ของการฉายรังสี และการรักษามะเร็งปอด เป็นรายงานการศึกษาจาก Veterans Affairs Central Cancer Registry ระหว่างปี 2001 and 2010 จากผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะที่ จำนวน 3,012 คน แบ่งเป็น 468 ราย ที่ได้รับการฉายรังสีในเทคนิค SBRT และ 1,203 ราย ที่ได้รับการฉายเทคนิคปกติ
                 
ผลอัตราการอยู่รอดที่ 4 ปี เท่ากับ 37% และ18.8% ตามลำดับ เมือเปรียบเทียบแล้ว การใช้เทคนิคนี้ ลดอัตราการตายลงถึง 28%
                 
นอกจากนี้ ยังมีรายงานผลอีกชุดหนึ่ง ที่พบอัตราการอยู่รอดที่เพิ่มขึ้น ในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะที่ 1 ที่เป็นผู้ป่วยสูงอายุ จำนวน 62,213 คน ใน National Cancer Institute’s Surveillance, Epidemiology, and End Results Database โดยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 39% ในปี 2004 to 58%  ในปี 2012 (p < 0.001)
                
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบการผ่าตัด กลุ่มที่ผ่าตัดก็จะดีกว่า แต่อาจจะเป็นเพราะการเลือกผู้ป่วยในกลุ่มผ่าตัด จะมีสภาพร่างกายที่แข็งแรงกว่า
                
ดังนั้นปัจจุบัน การใช้ SBRT จึงเป็นมาตรฐานใหม่ในการฉายรังสีในผู้ป่วยที่ผ่าตัดไม่ได้โดยการฉาย  1-5  ครั้ง แทนการฉายรังสีหลายสัปดาห์ โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการผ่าตัด                       
สรุป จากความก้าวหน้าของเทคนิคใหม่ ได้สร้างความหวังดังนี้

1. เทคนิคการฉายรังสี SBRT เหนือกว่า การฉายรังสีธรรมดา  ทำให้อัตราการอยู่รอดจากมะเร็งปอดสูงขึ้น อย่างชัดเจน

2. ผู้ป่วยมะเร็งปอด ที่มีข้อจำกัดในการผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ ควรได้รับการรักษาด้วยเทคนิค SBRT