Carola
Seifart แพทย์ชาวเยอรมัน
ผู้สนใจในกระบวนการบอกข่าวร้าย
ได้กล่าวว่า แพทย์ที่รักษาโรค มะเร็ง
ทุกสาขาต้องมีจังหวะที่ต้องแจ้งข่าวร้ายกับผู้ป่วย เพราะต้องบอกทั้งการวินิจฉัย
พยากรณ์โรค และบ่อยครั้งที่ต้องพูดถึงผลการรักษาที่ไม่ได้ผล
จึงได้กำหนดแนวทางปฎิบัติพื้นฐาน ที่เรียกว่า
SPIKES ให้แพทย์ได้ทำตาม
![]() |
ภาพประกอบจาก : http://www.sharecare.com/health |
SPIKES ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน คือ S (Setting), P (Perception), I(Information), K (knowledge ), E (Empathy), S (Strategy& Summary) ทุกขั้นตอนจะมีความสำคัญ
ที่ทำให้การบอกข่าวร้ายเป็นไปด้วยความนุ่มนวล เรียบร้อย
Robert
Buckman แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านมะเร็งวิทยา ได้แนะนำแนวทางแจ้งข่าวร้ายใน 6 ขั้นตอน ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือ Getting started, What does the patient know, How much does the patient want to know, Sharing
information, Responding to patient and family, Planning and follow-up
ซึ่งเมื่อศึกษาทั้ง
2 แนว ทาง พอจะสรุปได้ดังนี้
1. การเตรียมความพร้อมในการแจ้งข่าว
1.1 สถานที่ การเตรียมสถานที่ที่เหมาะสมในการการพูดคุย
เพื่อความเป็นส่วนตัว
และจัดสรรเวลาอย่างเพียงพอสำหรับการพูดคุย ควรให้ความสำคัญในการพูดคุย
โดยปิดอุปกรณ์สื่อสารเพื่อป้องกันการถูกขัดจังหวะขณะคุย
1.2 ข้อมูล สรุปทบทวนประวัติผู้ป่วย เพื่อความถูกต้อง
เพราะจะมีส่วนสำคัญในเรื่องจิตใจ และความคาดหวัง
โดยก่อนเริ่มควรบอกผู้ป่วยให้ชัดเจนว่าการพูดคุยเป็นเรื่องจำเป็นเกี่ยวกับตัวโรค
1.3 ทีม นอกจากแพทย์ พยาบาลและผู้ป่วยแล้ว
โดยทั่วไปควรมีญาติอยู่ด้วย
เพราะจะช่วยให้มีความรู้สึกที่มั่นคงปลอดภัยกับผู้ป่วยมากขึ้น ยกเว้นผู้ป่วยจะเลือกอยู่คนเดียว
ซึ่งในวัฒนธรรมไทยจะไม่ค่อยมีลักษณะนี้ในการสนทนานั้น
ควรสร้างความรู้สึกเป็นทีมเดียวกัน ไม่ควรนั่งกอดอกหรือไขว่ห้าง
และมีท่าทางผ่อนคลาย
2. สร้างบรรยากาศการสนทนา ค้นหาความเข้าใจพื้นฐานของผู้ป่วย เริ่มด้วยการซักถามอาการปัจจุบันเล็กน้อย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงสื่อสารแบบสองทาง ที่จะทำให้ผู้ป่วยกล้าพูดคุยมากขึ้น หลังจากนั้นก็ต่อด้วยความเข้าใจของผู้ป่วยและญาติว่ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นว่าเป็นโรคอะไร หรือหมอคนก่อนๆ บอกว่าอย่างไร
ต้องรักษาอย่างไร เพื่อให้การสนทนาราบรื่น
ไม่ให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลมากนัก
เพราะความขัดแย้งอาจทำให้ผู้ป่วยไม่กล้าพูดเพิ่มเติม
แต่ถ้าผู้ป่วยมีปฏิกิริยาทางอารมณ์มากหรือไม่พร้อมที่จะสนทนาต่อ
ควรสรุปเรื่องที่เข้าใจตรงกัน
โดยยังไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลใหม่มากนัก
เป็นการเว้นจังหวะให้ผู้ป่วยเริ่มรับทราบประเด็นที่อาจจะต้องคุยต่อเท่านั้น
3. ประเมินความต้องการข้อมูล เราอาจจะต้องประเมินก่อนว่าในแต่ละประเด็นที่จะให้ข้อมูลนั้น ผู้ป่วยและญาติแต่ละรายจะมีความต้องการทราบมากน้อยแค่ไหน
เพราะแต่ละคนจะมีความรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วยที่แตกต่างกันไป
คำถามที่อาจช่วยในการประเมิน
เช่น คุณอยากทราบไหมครับ ว่าป่วยเป็นโรคอะไร
อยากทราบรายละเอียดทั้งหมดหรือไม่
อยากให้หมอคุยกับใครเพื่อวางแผนการรักษาไหม
ผู้ป่วยที่อยากรู้จะบอกกับแพทย์ทันทีว่าอยากรู้ ส่วนผู้ป่วยที่ไม่อยากรู้อาจมีวิธีปฏิเสธหลายรูปแบบ
บางครั้งอาจตัดบทหรือนิ่งเงียบไป
อย่าลืมนะครับ ข้อมูลที่ผู้ป่วยอยากทราบกับข้อมูลที่หมออยากบอก อาจจะไม่ตรงกันก็ได้ เช่น
บางครั้งผู้ป่วยกังวลเรื่องค่ารักษา เรื่อง ผลที่จะกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย แต่แพทย์พยายามอธิบายแนวทางการรักษาและหลักฐานทางวิชาการ เช่น
ทำไมต้องใช้ยามุ่งเป้า เป็นต้น
ติดตามตอนต่อไปนะครับ
เข้าใจความสำคัญของการบอกข่าวร้ายและเทคนิคที่ญาติควรสนใจเพ่ือเป็นประโยชน์มากขึ้น
ตอบลบ