วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ทีมสู้มะเร็ง (ตอนที่ 6)


ภาพประกอบจาก : http://www.sharecare.com/health

ญาติ


วันนี้ทีมสู้มะเร็ง จะเป็นเรื่องของญาติ   ผู้มีความสำคัญมากต่อผู้ป่วย    เพราะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและเข้าใจปัญหาของผู้ป่วย ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นผู้ตัดสินใจในการวางแผนการรักษาแทนผู้ป่วยอีกด้วย

ญาติในที่นี้ หมายรวมถึงบิดามารดา  ลูกหลาน หรือ ญาติสนิท ที่หมอสามารถสอบถามข้อมูลและปรึกษาบอกกล่าวได้ด้วยการยอมรับความผูกพันของผู้ป่วยเอง

บทบาทแรกของญาติหลังจากทราบการวินิจฉัย คือ การให้กำลังใจ สิ่งสำคัญคือ ญาติต้องทราบว่าผู้ป่วยจะมีสภาวะทางจิตใจ ที่อาจจะแสดงออกมาได้ในหลายๆลักษณะต่างๆกัน  เช่น การปฏิเสธไม่ยอมรับความจริง การต่อต้านการรักษา ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น

ญาติจะต้องตั้งสติ วิเคราะห์ว่าผู้ป่วยอยู่ในสภาพใด ะต้องไม่เล่นไปตามอารมณ์ของผู้ป่วย เช่น กอดคอกันร้องไห้ นั่งซึมเศร้า เบื่ออาหารด้วยกัน ปฏิเสธว่าการวินิจฉัยไม่จริง การรักษาไม่ใช่    ร่วมกันหนีออกจากสิ่งแวดล้อมที่กลัวคือ โรงพยาบาลกับหมอ คิดว่ามีแต่ความทุกข์ทรมาน อยากไปที่ซึ่งคิดว่าสบายใจกว่า เช่น ไปท่องเที่ยวให้หายเครียด ทำให้ผู้ป่วยบางรายกลับเป็นหนัก โรคลุกลามมากขึ้นจึงจะเข้าโรงพยาบาลด้วยความจำยอม   

แล้วเราควรจะทำอย่างไรดี? คำตอบ คือ สายกลาง เราเล่นตรงข้ามไม่ได้ เราเล่นตามไม่ได้ เราต้องผ่อนสั้น ผ่อนยาว เป็นจังหวะที่เหมาะสม  ถ้าหากเรานั่งกอดคอร้องไห้และซึมเศร้าด้วยกัน จะเหนี่ยวนำความรู้สึกซึมเศร้าให้รุนแรง ที่อาจจะนำไปสู่ กระบวนการสุดท้ายที่อาจจะเป็นเรื่องการทำร้ายตัวเอง หรือถ้าเราพูดในทางตรงข้ามว่าไม่ต้องกลัว ไม่เป็นไรหรอก บางครั้งอาจจะสร้างความโกรธให้รุนแรงขึ้นได้ ว่าไม่เข้าใจจิตใจของผู้ป่วย ไม่สนใจ ขนาดป่วยหนักขนาดนี้ ยังไม่ใส่ใจ ไม่ใช่ตัวเองเป็นนี่  การตัดพ้อต่อว่าที่ญาติอาจท้อแท้หมดกำลังใจเสียเอง           
 
การรับฟัง การทำตามที่เหมาะสม การให้ข้อคิด การให้กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ แต่อย่าให้เกินไป เพราะอาจจะเป็น Over Protection ห่รือการปกป้องใส่ใจเกินไป อาจทำให้ผู้ป่วยอ่อนแอ และคิดว่า เราคงตายในไม่ช้า   ทุกคนจึงทำดีกับเราไปหมด ทำให้แทนที่จะยินดีกับอาหารสุขภาพสุดเลิศให้รับประทาน การนำเสนอสิ่งดีๆ กลายเป็นการปฏิเสธได้

เห็นไหมครับว่า เรื่องจิตใจ เป็นเรื่องสำคัญค่อยๆอ่าน วิเคราะห์ แล้วท่านจะเข้าใจว่าสายกลางในแต่ละคนควรจะทำอะไร อย่างไร มากน้อยแค่ไหน  เพราะผู้ป่วยแต่ละคน จะมีพื้นฐาน ความคิด วัฒนธรรมที่แตกต่างกันครับ          


                     

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ5 ตุลาคม 2557 เวลา 23:16

    เป็นแบบที่หมอว่าจริงๆคุณพ่อท่านมิไดสนใจอาหารอร่อยที่ลูกๆสรรหามาของใช้ที่คิดว่าดีท่ีสุดก็ไม่ยอมใช้เพราะคิดว่าโรคร้ายนี้รักษามิได้

    ตอบลบ