วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

ทีมสู้มะเร็ง ( ตอนที่ 4 )

ทีมสู้มะเร็ง ( ตอนที่ 4 )

ภาพประกอบจาก : http://www.sharecare.com/health
เมื่อเราเข้าใจในสภาพโรคแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนในการตัดสินใจในการรักษา  หลายครั้งที่ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมักจะวิ่งหาหมอมากกว่าหนึ่งคน เพื่อขอความคิดเห็นที่แตกต่างหรือความเห็นที่สนับสนุน ให้มีความมั่นใจ ซึ่งบางครั้งก็มีประโยชน์ แต่หลายครั้งก็จะเข้าข่ายมากหมอมากความก็เป็นได้

บางคนอาจจะเชื่อหมอคนแรกเลย แต่ก็ยังมีความคิดวนเวียน ซึ่งอาจจะมารู้สึกมาเสียใจในภายหลังว่า ยังมีวิธีการรักษาแบบอื่นๆอีก โดยเฉพาะเมื่อได้ยินได้ฟังคำพูดของญาติๆ เพื่อนๆผู้หวังดี ทั้งๆที่การรักษานั้นดีที่สุดแล้ว และบางครั้งเราอาจจะได้ข้อมูลเทคโนโลยีใหม่ๆจากสื่อต่างๆ ทำให้เกิดความหวัง หลายคนพยายามที่จะเดินทางไปหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งๆที่ข้อมูลนั้นอาจจะยังไม่ได้รับรองมาตรฐานหรืออาจเกินสำหรับโรค หรือ บางครั้งอาจไม่มีประโยชน์ต่อโรคที่เป็นเลยก็เป็นได้

ดังนั้นในมหาวิทยาลัยแพทย์ หรือ สถาบันที่รักษามะเร็ง จึงมีมาตรฐานในการรักษาที่เรียกว่า CPG (Clinical Practice Guidelines)  กำกับอยู่ หรือในหลายสถาบัน จะมีคณะกรรมการวางแผนการรักษา ที่เรียกว่า Tumor Board  ซึ่งประกอบด้วยแพทย์หลักๆ คือ พยาธิแพทย์ แพทย์ทางศัลยศาสตร์ อายุรศาสตร์ และรังสีมะเร็งวิทยา มาวางแผนร่วมกัน ทำให้ผู้ป่วยมั่นใจได้ว่าเป็นการรักษาที่ดีที่สุด ไม่ต้องกังวลว่า ผ่าตัดได้ไหม ไม่ให้ยาเคมีบำบัด หรือ ฉายรังสีได้หรือไม่  เพราะคณะแพทย์จะตัดสินใจวางแนวทางตามข้อมูล เมื่อมีทางที่จะต้องเลือก เช่น จะรักษาด้วยวิธี A หรือ B ก็ได้ แพทย์ก็จะปรึกษาผู้ป่วยและญาติในการตัดสินใจ  ซึ่งในการตัดสินนี้ อาจจะเป็นทั้งวิธีการรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เหมาะสม


การรักษามะเร็งต้องเร็ว ต้องการการตัดสินใจร่วมของทีมแพทย์  ผู้ป่วยและ ครอบครัว ต้องชัดเจน และลงมือรักษาเลยครับ อย่าลังเลหรือทดลองตามคำบอกเล่า  หรือกลัวการรักษาบางอย่างแบบไม่มีเหตุผล จะนำซึ่งผลเสียในภายหลัง  ฉะนั้นการตัดสินใจและลงมือรักษาโดยเร็วเท่าไร ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุดครับ

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ30 กันยายน 2557 เวลา 05:34

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ30 กันยายน 2557 เวลา 08:30

    ผมเองชอบเปลี่ยนโรงพยาบาลหาหมอหลายคนเวลาเป็นอะไรที่หนักหน่อยเช่นถ่ยท้องติดๆกันหลายวัน หมอคนแรกบอกว่าเครียดไม่อยากเช่ือหมอคนที่สองให้ยาฆ่าเชื้อและยาหยุดถ่ายหากมีแนวโน้มที่หมอวินิจฉัยว่าจะเป็นมะเร็งกะไว้แล้วว่าจะหาหมอยืนยันตรงกันสักสามท่านแล้วจะเช่ือ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ30 กันยายน 2557 เวลา 19:08

    บทความดีครับขอบคุณครับ

    ตอบลบ