อวัยวะในช่องท้องส่วนใหญ่เป็นอวัยวะเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร คือ กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับ ตับอ่อน ม้าม ถุงน้ำดี และทางเดินน้ำดี ส่วนทางด้านหลังของช่องท้องที่ระดับเอว
จะมี ไต และ ท่อไต ที่ทอดต่อจากไตลงมาสู่กระเพาะปัสสาวะในช่องเชิงกราน
เนื่องจากเป็นอวัยวะที่อยู่ภายใน ซึ่งไม่อาจตรวจดูจากภายนอกได้อย่างชัดเจน
ดังนั้นการเฝ้าระวังอาการ จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก โดยในขั้นแรกจะต้องทราบถึงตำแหน่งของอวัยวะต่างๆ
เพื่อแยกแยะอาการที่สงสัยได้เสียก่อน โดยอวัยวะต่างมีดังนี้
![]() |
ภาพแสดงอวัยวะต่างภายในช่องท้อง |
1. ตับ
2. กระเพาะอาหาร
3. ลำไส้เล็กส่วนต้น
4. ถุงน้ำดี
5. ลำไส้เล็ก
6. ไส้ติ่ง
7. ลำไส้ใหญ่
อาการผิดปกติของระบบไตและทางปัสสาวะเราอาจจะพบและสังเกตความผิดปกติได้น้อย
แต่ที่พบบ่อยและเป็นที่สังเกตุได้มักจะเป็นเรื่องของระบบทางเดินอาหาร เช่น
1. อาการแน่นท้อง
อาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร ปวดท้องเรื้อรัง ที่ได้รับการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น
2. อาเจียนเป็นเลือด
3. ท้องผูกสลับกับท้องเสีย
หรือการถ่ายเป็นมูกหรือเลือด
4. ปัสสาวะมีสีผิดปกติ เช่น
สีเหลืองเข้ม ซึ่งจะพบร่วมกับอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หรือปัสสาวะมีเลือดปน
ต่อมา เรามาเข้าสู่การตรวจร่างกายด้วยตนเองในส่วนช่องท้อง ซึ่งอาจทำได้ง่ายในผู้ที่มีร่างกายผอม
ส่วนคนอ้วนอาจตรวจได้ค่อนข้างยาก วิธีการการสังเกตคือ
1. สังเกตดูบริเวณที่รู้สึกแน่นผิดปกติว่ามีก้อนหรือรอยนูนไม่เท่ากัน
เช่น รู้สึกแน่นและแข็งบริเวณชายโครงขวา ซึ่งมักจะเป็นความผิดปกติของตับ ถ้าท้องใหญ่ขึ้น
แต่กลับรู้สึกเพลียหรือน้ำหนักตัวลด เป็นข้อบ่งชี้ที่ไม่ดี
2.
การคลำบริเวณท้อง
ในการตรวจให้นอนราบ และคลำในตำแหน่งต่างๆ (ดังรูป)
โดยปกติในช่องท้องนั้น ไม่ควรจะคลำพบก้อนใดๆ ทั้งสิ้น แต่ในบางครั้งที่มีท้องอืด
หรือมีลมในกระเพาะอาหารและลำไส้มาก อาจรู้สึกมีก้อนโตขึ้น หรือมีลมวิ่งเป็นลูกๆ
อยู่ในท้อง หากคลำพบหรือสงสัยว่ามีก้อนในท้อง ควรปรึกษาแพทย์ทันที
อยากเรียนถามคุณหมอว่าก่อนนอนประมาณสามทุ่มด่ืมน้ำทานยาเป็นประจำ1แก้ว. ราวๆตีหนึ่งและตีสามและตีห้ากว่าจะต้องเข้าห้องน้ำเสมอผิดปกติหรือเปล่าค่ะ
ตอบลบ