ในกรณีที่ญาติไม่ต้องการให้ ผู้ป่วยรู้ว่า...เป็นมะเร็ง
สำหรับโรคทั่วไปอาจจะไม่มีปัญหา แต่มะเร็งเป็นโรคจำเพาะจริงๆ การบอกความจริงกับผู้ป่วยอาจจะเกิดผลเสียได้ แต่การที่ญาติไม่อยากให้แพทย์บอกผู้ป่วยเลย คงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องนัก
โดยเฉพาะการรักษาที่มีผลกระทบต่อผู้ป่วย
ในบางกรณีภาวะแทรกซ้อนนั้นอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงเป็นความเห็นที่ขัดแย้งกันบ่อยครั้ง ระหว่างผู้รักษากับญาติผู้ป่วย
![]() |
ภาพประกอบจาก : http://www.sharecare.com/health |
ในกรณีเช่นนี้
ควรหาโอกาสสื่อสารกับญาติของผู้ป่วยก่อน จะด้วยเทคนิคใดก็ตาม เช่น
ระหว่างผู้ป่วยที่เข้าห้องเจาะเลือด หรือในบางกรณีอาจนัดญาติคุยกันนอกรอบก่อนที่จะพบผู้ป่วย
ข้อสำคัญคือไม่ควรแยกผู้ป่วยและญาติออกจากกัน โดยให้ญาตินั่งคุยต่อ ในห้องกับแพทย์
เพราะจะเป็นการสร้างความไม่วางใจ และอาจจะทำให้ผู้ป่วยคิดมากได้
ทั้งนี้การพูดคุยระหว่างแพทย์กับญาติ
ก็เพื่อปรับมุมมองและสภาวะอารมณ์ของตัวญาติเอง
ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีอารมณ์ร่วมในความกลัวต่อโรคของผู้ป่วย ทำให้ญาติมักจะคิดว่าการบอกข่าวร้าย จะทำให้ผู้ป่วยไม่มีกำลังใจต่อสู้ อาการทรุดลง ได้ ถ้าการประเมินว่าโรคจะรุนแรง
ก็อาจจะปรับวิธีการบอกข่าวร้ายแบบค่อยเป็นค่อยไป ให้มีจำนวนครั้งมากขึ้นจนเกิดความเข้าใจทั้งทีมว่าเป็นธรรมชาติ
และเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ผู้ป่วยจะได้รับ
ในบางครั้งสิ่งที่ญาติคิดว่าดี อาจจะไม่ตรงกับสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการก็ได้ หมอและญาติควรได้ประเมินตัวผู้ป่วยก่อนว่าอยากรู้เพียงใด
ในบางกรณีต้องคำนึงถึงโครงสร้างครอบครัวของผู้ป่วยด้วย
ว่าใครมีส่วนในการตัดสินใจมากน้อยต่างกันอย่างไร
บางครั้งอาจจะเป็นภรรยา บางครั้งเป็นลูก ซึ่งอาจจะมีหลายคน สิ่งที่จำเป็นต้องพิจารณา หากสามารถกระทำได้ คือ
การนัดพูดคุยพร้อมกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน การวางแผนการรักษาจึงจะดีที่สุด
ในบางกรณีหมออาจไม่บอกผลกับผู้ป่วยก็ได้ เช่นในกรณีที่ผู้ป่วยอายุน้อยหรือมากเกินไป
หรือ พ่อแม่สูงวัยที่ลูกๆเป็นคนรับผิดชอบ
หรือผู้ป่วยที่มีความคาดหวังสูงเกินไป
หลายครั้ง
หน้าทะเบียนประวัติ จะมีโน้ตเล็กๆติดมาว่า
“ญาติไม่อยากให้ผู้ป่วยรู้ว่าเป็นอะไร”
สำหรับผู้ที่มีการศึกษาสูง
หรือผู้ที่ไฝ่หาความรู้ติดตามข่าวสารอยู่เสมอ จะรู้ว่าการฉายรังสีและยาเคมีบำบัด เป็นวิธีการรักษามะเร็ง จึงเป็นเรื่องยากไม่น้อยครับที่จะให้แพทย์ปกปิด
ถึงขั้นที่เรียกว่าต้องโกหก ซึ่งจะเป็นผลเสียในระยะยาวที่ทำให้ความสัมพันธ์ของแพทย์และผู้ป่วยที่ขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกันครับ
การแจ้งข่าวร้ายกับผู้ป่วยเป็นทักษะการสื่อสารที่มีความจำเป็นมาก สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องร่วมกันทำงานเป็นทีมกับญาติผู้ป่วย ต้องมีการเตรียมพร้อมเผชิญกับทุกปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ต้องรู้จักยืดหยุ่น
ยึดหลักการ ปรับวิธีการให้เหมาะสมในแต่ละราย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราจะรับมือกับข่าวร้าย และผ่านพ้นไปด้วยความรอบคอบ
มั่นคง ทำทุกอย่างด้วยสติ ลดทุกข์สร้างสุขกับสิ่งที่ควรจะเป็นหรือต้องเป็นเพื่อพวกเราทุกฝ่ายนะครับ
ขออภัยค่ะคุณหมอจะเรียนถามเร่ืองที่ลงผ่านมานานค่ะติดใจเร่ืองมะเร็งหนังศรีษะขออนุญาตถามคร่าวๆว่าน่ารังเกียจมากไหมรักษาหายได้หรือไม่ขอบพระคุณค่ะ
ตอบลบอยากทราบเหมือนกันครับว่าผู้หญิงกับผู้ชายใครเป็นมากกว่ากันครับมีสาเหตุจากแชมพูมีสารเคมีแรง?
ตอบลบผมขอนุญาติตอบสั้นๆนะครับ
ตอบลบความน่าเกลียด ขึ้นอยู่กับชนิด และระยะของโรคว่ามีขนาดใหญ่ แตกเป็นแผล ลุกลามมากน้อยแค่ไหน
มะเร็งหนังศีรษะ มีหลายชนิด เพราะมีตั้งแต่ผิวหนัง ต่อมเหงื่อ และเนื้อเยื่อ ในที่นี้จะพูดถึงเฉพาะมะเร็งผิวหนัง ซึ่งจะมี 3 กลุ่ม คือ Basal cell carcinoma , Squamous cell carcinoma และ Melanoma
ในกรณีที่เป็น 2 ชนิดแรก โอกาสหายขาดสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด การฉายรังสี แต่หากเป็นชนิดที่ 3 ซึ่งเป็นมะเร็งเม็ดสี กลุ่มนี้พยากรณ์โรคไม่ดี มีการกระจายสูง โอกาสหายจะอยู่ที่ผ่าตัดได้หรือไม่ครับ