![]() |
ภาพประกอบจาก : http://www.sharecare.com/health |
5. ตอบสนองต่อความรู้สึกของผู้ป่วยและครอบครัว เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง หากผู้ป่วยหรือครอบครัวหยุดชะงัก ไม่สบตา ไม่โต้ตอบ ซึม หรือร้องไห้ ควรเว้นจังหวะให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้ระบายความรู้สึกต่างๆ การแสดงความเข้าใจด้วยกิริยาท่าทางพร้อมคำพูด เช่น คุณอาจจะตกใจ กลัว ขอให้ใจเย็น เรามาร่วมกันแก้ปัญหา เรามาสู้กัน เราจะผ่านพ้นมันไปด้วยกัน อาจจะมีส่วนช่วยในความรู้สึกได้บ้าง เมื่อเขารู้สึกถึงการมีทีมที่เข้าใจในปัญหาของเขา
หากผู้ป่วยหรือ ญาติร้องไห้ ควรนำกระดาษเช็ดหน้าที่เตรียมไว้ ยื่นให้กับผู้ป่วย เป็นการแสดงถึงการยอมรับในอารมณ์ของผู้ป่วย เป็นการแสดงความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ อย่าเร่งในการอธิบาย ความเอาใจใส่และความเห็นอกเห็นใจ หยุดพักเป็นช่วงๆ ให้บรรยากาศผ่อนคลาย และเป็นจังหวะที่แพทย์จะได้ปรับเนื้อหาที่จะพูด หรือแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย เช่น ความกังวลต่อผลการรักษา หรือ แนวทางการรักษา หรือค่าใช้จ่ายในการรักษา ที่จะตามมาเป็นต้น
6. สรุปข้อมูล ทั้งแผนการรักษาที่ชัดเจนหรือความหวังและโอกาสที่อาจจะมี
เมื่อได้ให้ข้อมูลทั้งการวินิจฉัยและแผนการรักษาแล้ว ควรสรุปและซักซ้อมความเข้าใจให้ตรงกัน เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้ซักถามข้อสงสัย และนัดหมายการมาพบในครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้ป่วยดูสับสนหรือเศร้ามาก ควรให้กำลังใจ และความหวัง
ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย และมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ควรส่งปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อร่วมดูแลตั้งแต่ต้น
สรุป การบอกข่าว ( ร้าย ) เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างหนึ่งในการรักษา ที่ต้องมีทีมที่ดี มีกระบวนการที่ดี อย่ากลัวเสียเวลา เพราะการบอกข่าว ใช้เวลาน้อยมาก เมื่อเทียบกับเวลาที่เราใช้ในการผ่าตัด การให้ยาเคมี หรือ การฉายรังสี
ดังนั้นหากจำเป็น การบอกกล่าวข่าว ( ร้าย ) ไม่จำเป็นต้องให้จบในครั้งเดียว อาจทำเป็น 2 ครั้งหรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับรู้ และการตอบสนองของผู้วย ด้วยเหตุที่ว่า เมื่อได้รับการบอกครั้งแรก ผู้ป่วยอาจจิตใจไม่สงบ สับสนตั้งแต่นาทีแรก หูอื้อ สูญเสียสมาธิ ใจล่องลอย ตั้งตัวไม่ติด คิดอะไรไม่ออก ตัดสินใจอะไรไม่ได้ เคยมีผลการวิจัยที่พบว่า ผู้ป่วยมักจำอะไรไม่ค่อยได้ในขณะเมื่อได้รับการบอกข่าวร้ายเรื่องวินิจฉัยโรค การได้พบแพทย์และได้พูดคุยเป็นครั้งที่ 2 จึงมีความสำคัญ และบ่อยครั้งที่แพทย์จะพบว่า ผู้ป่วยจะพูดคุยซักถามครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อความมั่นใจในข้อมูลของตนเอง
โปรดสละเวลาอันมีค่าของท่านในการทำหน้าที่ที่สำคัญนี้ ในการบอก ข่าวที่ไม่ใครอยากบอกหรืออยากได้ยิน แต่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามที่สิ่งที่ต้องเป็นไป
ไม่ว่าจะร้ายเพียงใด เราจะก้าวข้าม ผ่านพ้นไปอย่างดีที่สุดด้วยใจที่มั่นคง ด้วยความรักและปราถนาดีต่อกัน
สำหรับบุคลากรอื่นที่ไม่ได้ทำหน้าที่แจ้งข่าวร้ายโดยตรง ต้องสนับสนุนให้กำลังใจผู้ป่วย เมื่อเจอคำถามสำคัญ เช่น ระยะที่เท่าไร จะอยู่ได้นานหรือไม่ ควรจะแนะนำให้พบแพทย์เจ้าของไข้ เพราะแม้จะเป็นข้อมูลที่เหมือนกัน แต่การพบผู้ป่วยในช่วงเวลาสั้นๆ ทำให้ไม่สามารถประเมินให้รอบคอบหลายด้าน ตามแนวทางปฏิบัติที่กล่าวมาแล้ว จึงอาจจะเกิดความขัดแย้งในข้อมูล ที่จะแจ้งให้ผู้ป่วยก็ได้
ชอบต่อเนื่องจากตอนท่ีคะ
ตอบลบสั้นๆได้ใจความทำให้ผมทำหน้าที่ญาติให้ดีท่ีสุด และหากตนเองต้องเผชิญโรคด้วยแล้วจะให้ความร่วมมือด้วยดีกับคุณหมอโดยเข้มแข็งและอดทน
ตอบลบ