เราได้เรียนรู้วิธีการบอกข่าวร้ายมาแล้ว
![]() |
ภาพประกอบจาก : http://www.sharecare.com/health |
คำถามที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งคือ
ข่าวร้ายนี้จำเป็นต้องบอกหรือไม่
แม้ในปัจจุบันข้อมูลส่วนใหญ่จะสรุปว่าควรบอก
เพราะเป็นสิทธิของผู้ป่วยที่จะทราบ ในโรงพยาบาลบางแห่งจึงประกาศสิทธิแม้แต่ฟิล์มเอกซเรย์ก็เขียนว่าเป็นสมบัติของผู้ป่วย และเชื่อว่าผู้ป่วยที่รู้ผลวินิจฉัยชัดเจนอาจมีผลการรักษาที่ดีกว่าในระยะยาว
ข้อความข้างต้นนี้ ไม่ผิดเลย เพราะหากเขาไม่รู้การวินิจฉัยที่แท้จริง
ไม่รู้แนวทางการรักษา
เป็นไปได้ที่เขาจะเลือกหนีไปรักษาวิธีอื่นๆ ที่สร้างความสบายใจ
แต่การบอกความจริงทั้งหมดอาจสร้างความท้อแท้
หมดอาลัย
เขาจะวิ่งหาสิ่งที่เป็นความหวัง
แนวทางโฆษณาบางแห่งไม่คำนึงถึงจริยธรรม
ขนาดที่บอกว่า ไม่มีผู้ป่วยรายไหนที่เขารักษาไม่ได้ รักษาได้ทุกโรค ทุกระยะ
เป็นความหวังสุดท้ายของผู้ป่วย
ผมขอย้ำอีกครั้งในฐานะแพทย์ที่ดูแลโรคจำเพาะมานาน
อย่ายัดเยียดสิทธิให้เขา ให้เขาตัดสินใจว่าจะใช้สิทธิหรือไม่
เมื่อเขาใช้สิทธิ การบอกทั้งหมด หรือ การบอกครึ่งหนึ่ง
สิ่งใดจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย เรามีสิทธิที่จะเลือกได้
เช่น เมื่อคนไข้ปอดไม่ดี การบอกว่าปอดไม่ดี คุณเป็นมะเร็ง อาจจะทำให้ผู้ป่วยที่ยังไม่เตรียมใจในการพบกันครั้งแรก
ช๊อคได้ครับ เรามีวิธีหรือโอกาสในการ บอกได้มากมาย
แต่หากไปกลัวคนไข้ใจเสีย แล้วบอกว่าปอดดี คือการโกหก 100 % อาจทำให้ผู้ป่วยละเลยการรักษาได้ ตัวอย่างที่อาจแนะนำดังนี้
ปอดไม่ค่อยดีนะครับ
อาจจะมีความเสี่ยงเป็นเนื้อร้ายครับ คงต้องตรวจอีกครั้ง ช่วยกันกับหมอตั้งใจรักษานะครับ
ปอดไม่ดีครับ มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้
อย่าเพิ่งตกใจนะครับ ต้องตรวจเพื่อความแน่นอ แต่หากพบว่าเป็น เราจะช่วยกันเต็มที่แน่นอน
ปอดไม่ค่อยดี
เหมือนคนสูบบุหรี่จัด อาจจะมีเนื้อร้ายซ่อนอยู่หรือไม่มีก็ได้
เราต้องตรวจให้แน่ใจอีก ครั้งครับ
ปอดไม่สู้ดี ต้อง รักษาเรื่องปอด แล้วค่อยๆตรวจต่อไปครับ
ผมเชื่อว่า แพทย์ พยาบาล บุคลากรทุกคน พูดด้วยความหวังดีมีจริยธรรมทำหน้าที่ดีที่สุดกับทุกคนอยู่แล้วครับ
ประโยคใดก็ตามที่จะผ่อนคลายไม่ให้ผู้ป่วยหวาดผวาจนเกินกว่าเหตุ นำไปสู่เรื่องที่คาดไม่ถึง
เราต้องระมัดระวังมากครับ เพราะความหมายที่เราพูด อาจจะไม่ตรงกับสิ่งที่เขาคิด
หรือแปลความหมาย ก็ได้ครับ
การรักษาต้องทำเป็นทีม
การบอกข่าวต้องมีกระบวนการดังที่กล่าวมาแล้ว
การบอกข่าวก็เป็นทีม
บางครั้งเราอาจะเผลอไป คิดว่าอยู่ในห้องเรียน
ห้องประชุมที่มีการอภิปรายอย่างนักวิชาการ
ดังตัวอย่างที่เคยมีความผิดพลาดมาแล้ว และมีโอกาสผิดซ้ำอีก คือ แพทย์ท่านหนึ่ง
ที่มาดูผู้ป่วยตามคำปรึกษาของแพทย์เจ้าของไข้ ที่ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อย หลังการรักษามาแล้ว
6 เดือน เมื่อตรวจแล้ว
ตอนหนึ่งของการสนทนา ก็บอกกับผู้ป่วยว่า
"คุณรักษามาตั้งนานแล้ว
มีใครบอกคุณหรือเปล่าว่า เป็นอะไร ผมว่าชัดเจนแล้วนะครับ
คุณเป็นมะเร็งระยะที่ 4 อาการที่เป็นสืบเนื่องจากโรคกำเริบมากขึ้น ไม่มีโอกาสหาย ที่ผ่านมาก็รักษามาอย่างดีแล้ว
นับว่าโชคดีมากครับ"
ลองนึกเอาเองก็แล้วกัน เขามีชีวิตผ่านมา 6 เดือน ด้วยความสุข ด้วยความหวัง
ดีกว่าการติดเชื้ออีโบลา หรือ อุบัติเหตุเครื่องบินตกเป็นไหนๆ คุณสามารถทำลายชีวิตเขาด้วยคำพูดที่ไม่ได้ตั้งใจเพียง
2-3 ประโยค ในเวลา 1 นาที
ย้ำอีกครั้ง การบอกข่าว (ร้าย) เป็นเรื่องละเอียดอ่อน
ไม่ใช่ตอบข้อสอบ บางครั้งไม่จำเป็นต้องบอกหมดก็ได้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น