วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

แนวทางใหม่ในการรักษาและวิจัยมะเร็งปากมดลูก ปี 2014



แนวทางใหม่ในการรักษามะเร็งปากมดลูกที่อยู่ในการวิจัยและมีแนวโน้มที่ส่งเสริมผลการรักษาในปี 2014  ที่มีในบทสรุปของ  American cancer society  เป็นวิธีการรักษาและการวิจัยที่มีรายงานอยู่บ้างแล้ว แต่ยังต้องการข้อมูลจำนวนที่มากพอเพื่อการสรุปที่ชัดเจนต่อไป แนวทางเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาให้การรักษาเชิงวิจัย สำหรับผู้ที่สนใจเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน ( อ่านบทการรักษาเชิงวิจัย )
1.  Sentinel Lymph Node Biopsy
ในการผ่าตัดมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1 โดยมาตรฐานจะต้องเลาะต่อมน้ำเหลืองในช่องเชิงกรานออก เพื่อตรวจดูการลุกลาม แต่ด้วยเทคนิคใหม่ แทนที่จะเลาะต่อมน้ำเหลืองทั้งหมด เทคนิคที่เรียกว่า  Sentinel Lymph Node Biopsy เป็นการตัดดูจำเพาะต่อมน้ำเหลืองส่วนหนึ่งที่มีโอกาสจะเกิดการกระจายของโรค  โดยการใช้  Blue Dye ซึ่งเป็นสีที่มีส่วนประกอบของสารรังสี  ฉีดเข้าในก้อนมะเร็งเพื่อให้เข้าสู่ระบบทางเดินน้ำเหลือง  ทำให้เราสามารถที่จะชี้ชัดและเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รับการถ่ายเทน้ำเหลืองจากก้อนมะเร็งด้วยรังสีและ  Blue Dye นั่นหมายความว่าหากมีการกระจายมาทางต่อมน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลืองดังกล่าว จะเป็นสถานีแรกที่รับการกระจายมา ดังนั้นถ้าต่อมนี้ไม่การกระจายของมะเร็งก็ไม่จำเป็นต้องเลาะต่อมน้ำเหลืองเม็ดอื่นๆ การเลาะจำนวนต่อมน้ำเหลืองที่น้อย จะลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ ในปัจจุบันยังมีเทคนิคอื่นที่ใช้ คือ Robotic (Laparoscopic) assisted near infrared imaging หลังฉีดสี Indocyanine green (ICG) dye ที่ปากมดลูก ตัวอย่างการใช้ เทคนิคการทำ Sentinel Node Biopsy  ที่ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานคือ การรักษามะเร็งเต้านม ที่มีการตรวจดูการกระจายของต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้เป็นต้น
ภาพประกอบจาก: http://www.aboutcancer.com/sentinel.htm

2. HPV Vaccines
เป็นการนำวัคซีน ซึ่งได้รับการพัฒนาอย่างมากในการป้องกันการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่เกี่ยวเนื่องกับการเกิดมะเร็งปากมดลูก  ในปัจจุบันจะมีวัคซีนที่ป้องกัน สายพันธุ์ HPV ที่ 16 and 18 ซึ่งผู้หญิงที่ได้วัคซีน แม้จะสัมผัสเชื้อก็จะไม่ติดเชื้อ HPV ในขณะเดียวกันบางวัคซีน ก็จะคลุมการติดเชื้อได้มากสายพันธุ์  ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการติดตามดูผลการลดอุบัติการณ์มะเร็งปากมดลูก

นอกจากการป้องกันแล้ว ยังมีการศึกษาในกลุ่มที่ติดเชื้อ หรือกลุ่มที่เป็นมะเร็งแล้ว ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้มีการทำลายเชื้อไวรัสก่อนที่จะเป็นมะเร็ง หรือบางชนิดจะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาที่ E6,E7 ทำให้เซลล์ เจริญเติบโตผิดปกติ ซึ่งเป็นความหวังจะหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง



3.Targeted therapy
ตามที่มีการวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของรหัสพันธุกรรมในมะเร็งปากมดลูก จึงมีการศึกษายามุ่งเป้า ซึ่งจะมีความจำเพาะและมีภาวะแทรกซ้อนที่น้อยกว่ายาเคมีบำบัด  ยากลุ่มนี้อาจจะใช้เป็นยาเดี่ยว หรือ ร่วมกับยาเคมีบำบัดก็ได้ ตัวอย่างเช่น  Pazopanib  ที่มีรายงานเพิ่มอัตราการอยู่รอดมากขึ้นในมะเร็งระยะลุกลาม

4. Hyperthermia
มีหลายรายงานที่ชี้ชัดว่าการให้ Hyperthermia ซึ่งเป็นเพิ่มอุณหภูมืในก้อนมะเร็ง ร่วมกับการฉายรังสี ช่วยลดอัตรากลับเป็น ทำให้มีอัตรากรอยู่รอดที่มากขึ้น  (ดูในบทการใช้ความร้อนร่วมรักษาในมะเร็งปากมดลูก)

5. Drug treatment of pre-cancers
การรักษามาตรฐานในกลุ่มก่อนเป็นมะเร็ง เช่น Cervical Intraepithelial Neoplasia; CIN ได้แก่  Cryotherapy, Laser treatment, และ Conization

ในปัจจุบันมีการใช้ยาที่ให้ผลที่มีแนวโน้มที่ดี  มีรายงานการศึกษาในผู้ป่วย CIN2 or CIN3  ได้รับยา  Diindolylmethane (DIM)  12สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยบางรายมีการหายหมดของรอยโรค ในบางรายงานใช้ยาต้านไวรัส Cidofovir ทำให้มีการหายของรอยโรคมากกว่าครึ่งหนึ่งในกลุ่มของ the CIN  ยังมียาต้านไวรัสอื่น เช่น   Imiquimod  ที่ให้ผลเป็นที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตามต้องมีการศึกษาอีกเป็นจำนวนมากจึงจะมีการสรุปได้ในกลุ่มนี้ได้

แหล่งข้อมูล : American Cancer Society Last Medical Review: 09/19/2014


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น