GBM (Glioblastoma Multiforme) เป็นเนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรง หรือ Malignant Glioma
อาการ ที่พบส่วนมาก คือปวดศีรษะ, มีความผิดปกติทางระบบประสาทตามตำแหน่งของเนื้อสมอง, บางรายจะมาด้วยอาการชัก
การรักษา การผ่าตัดเอาเนื้องอกออกมากที่สุด โดยพยายามไม่ให้เกิดความพิการเพิ่มขึ้น
ปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัดและการทำ Functional Mapping ช่วยให้การผ่าตัดสะดวกและแม่นยำมากขึ้น หลังจากนั้นจะตามด้วยการฉายรังสีและยา
Temozolamide
พยากรณ์โรคไม่ดี
จะมีอัตราการอยู่รอด 6
-18 เดือน ตามสภาวะของโรคและร่างกาย
แนวทางใหม่
มีรายงานการใช้ระบบ
NovoTTF หรือ Novo Tumor Treating
Fields (NovoTTF) System ร่วมกับ Adjuvant Temozolomide ทำให้อัตราการอยู่รอดและการควบคุมโรคมะเร็งสมองชนิด GBM ยาวกว่าการใช้ยาอย่างเดียว เป็นการวิจัยที่เป็นมาตรฐานแบบสุ่มขั้นตอน
3 ( Randomized Phase III ) ซึ่งนำเสนอในการประชุม 19th
Annual Meeting of the Society for Neuro-Oncology ระหว่างวันที่ 13-16 พย. 2014 ที่ Miamiศาสตราจารย์ Roger Stupp จากมหาวิทยาลัยซูริค ประเทศ
สวิสเซอร์แลนด์ หัวหน้าคณะวิจัยได้กล่าวว่าเทคนิคการรักษาใหม่ได้เกิดขึ้นแล้ว โดยเป็นการรายงานผลการวิจัยในโครงการ EF-14
study, เป็นการศึกษาไปข้างหน้า โดยใช้ NovoTTF-100A ร่วมกับ Temozolomide ใน 83 สถาบัน 12 ประเทศ
NovoTTF เป็นผลิตภัณฑ์ ของ Novocure เป็นอุปกรณ์แบบพกพาใช้แบตเตอรรีที่ติดอยู่กับศีรษะผู้ป่วย
ส่งพลังงานผ่านสมองเข้าสู่บริเวณที่จะรักษา
โดยสร้างสนามไฟฟ้ารอบเนื้องอกที่จะทำลาย ดยมีรายงานการศึกษาทั้งในการทดลองและการใช้ในคนพบว่าจะหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ โดยหยุดกระบวนการแบ่งตัวที่เรียกว่า Mitosis ผู้ป่วยจะสวมใส่อุปกรณ์บริเวณศีรษะ ซึ่งจะส่งสนามไฟฟ้าความเข้มต่ำไปยังบริเวณที่จะรักษาเป็นเวลาอย่างน้อย
18 ชั่วโมงต่อวันเป็นเวลาอย่างน้อยสี่สัปดาห์
เครื่องมือนี้เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้รับการอนุมัติจาก
FDA ในการรักษาผู้ป่วยที่มีการกลับมาเป็นใหม่และเกิดอาการกำเริบของโรคมะเร็งในสมองหลังจากที่ได้รับยาเคมีบำบัดร่วมกับรังสีหลังการผ่าตัด
ในรายงานนี้เป็นการศึกษา ผู้ป่วยอายุมากกว่า 18 ปี ที่ผ่านการผ่าตัดและได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับยา Temozolomide จำนวน 315 ราย แล้วแบ่ง เป็น 2 กลุ่ม คือ ได้รับ NovoTTF ร่วมกับยา Temozolomide จำนวน 210ราย และกลุ่มที่ได้ยา
Temozolomide เพียงอย่างเดียว 105 คน โดยทั้ง 2
กลุ่มมีลักษณะโรค สภาพร่างกายที่เท่าเทียมกัน
ผลจากการติดตามหลังการรักษา พบว่าอัตราการอยู่รอดที่ควบคุมโรคได้ ในกลุ่มรักษาร่วมด้วยระบบ NovoTTF ร่วมกับยา
Temozolomide เท่ากับ 7.1
เดือน ในขณะที่กลุ่มได้ยาเพียงอย่างเดียวเท่ากับ 4 เดือน ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (HR
= 0.63; P = .001) และอัตราการอยู่รอดเฉลี่ยเท่ากับ 19.6
เดือนและ 16.6 months ตามลำดับ (HR = 0.75; P = .034) โดยมีอัตราการอยู่รอดที่ 2 ปี เท่ากับ 43% and 29%
ตามลำดับ
ด้วยผลการวิจัยที่วิเคราะห์
พบความต่างได้ชัดเจนและมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำให้กลุ่มที่ได้รับยาอย่างเดียวได้รับอนุญาติให้ใช้เครื่องมือ
TTF พร้อมกันนั้น ก็หยุดการเพิ่มจำนวนผู้ป่วย
ก่อนที่จะครบจำนวนผู้ป่วยตามเป้าหมายเดิม
ในด้านภาวะแทรกซ้อนพบร้อยละ 45 ของผู้ป่วยมีการระคายเคืองของผิวหนัง ส่วนอาการชักเกิดขึ้น 7% ทั้งสองกลุ่ม ในปัจจุบัน
NovoTTF ได้ใช้ชื่อว่า Optune โดยเป็นเครื่องมือที่การทำลายบริเวณเนื้องอกโดยรบกวนการแบ่งตัวของเซลล์ในขั้นตอนที่เรียกว่า
Mitosis
หมายเหตุ
โปรดปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษาท่านในข้อบ่งชี้และประโยชน์ที่จะได้รับด้วยนะครับ
แหล่งข้อมูล :Stupp R, Wong E, Scott
C, et al. Interim analysis of the EF-14 trial: a
prospective, multicenter trial of NovoTTF-100A together
with temozolomide compared to temozolomide alone in patients with newly
diagnosed GBM. Presented at: 19th Annual Meeting of the
Society for Neuro-Oncology; November 13-16,2014: Miami, FL.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น