วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การรักษามะเร็งด้วยเซลล์บำบัด (Cytotherapy)


การรักษามะเร็งด้วยเซลล์บำบัดเป็นความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการที่ยังไม่ใช่มาตรฐานการรักษาในปัจจุบัน แต่ด้วยเหตุที่มีผู้ป่วยรายหนึ่ง ไปรับการรักษาด้วยเทคนิคนี้  ผมจึงคิดว่าน่าจะนำความรู้นี้มาเผยแพร่ เพื่อเป็นตัวอย่างและข้อคิดต่อแนวมางการรักษาใหม่ ซึ่งเรื่องเซลล์บำบัดนี้ ผมอยากจะทำความเข้าใจในสองประการดังนี้

ประการที่ 1  ในการรักษาโรคมะเร็งนั้น หลายท่านจะอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถรักษาด้วยมาตรฐานได้  ต้องหาทางเลือกอื่นมากกว่าการอยู่เฉยๆ หรือบรรเทาอาการเพียงอย่างเดียว หรือผู้ที่อยู่ระหว่างการรักษามาตรฐาน แต่ต้องการการ รักษาทางเลือกอื่น เพิ่มเติมเพื่อความหวังสูงสุด ก็เป็นสิทธิพึงจะกระทำได้   

แต่ข้อสำคัญ คือ ผู้ที่ให้การรักษา จะต้องคำนึงถึงความหมิ่นเหม่ ต่อ เรื่องจริยธรรม ความชัดเจนในช้อบ่งชี้ ความเหมาะสม ความน่าจะเป็น   ต้องชี้แจงให้ผู้ป่วยเข้าใจอย่างถูกต้อง ถึงผลที่ได้ และความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น   อย่าชักนำเพื่อการทดลอง หรือ เพื่อผลประโยชน์อื่นใด

ประการที่ 2     โปรดแยกออกจากความรู้สึก ของ   Stem Sell  ที่เป็นข่าวสับสนในเวลานี้ กับเรื่องเซลล์บำบัด ที่เป็นเรื่องจำเพาะของมะเร็ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันบำบัดเท่านั้น

สิ่งที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ สามารถดูพื้นฐานของเรื่อง ภูมิคุ้มกันบำบัด ที่เคยเขียนใน Blog นี้มาแล้ว    วันนี้จะเป็น รายงานการรักษามะเร็งด้วยเซลล์บำบัดนี้    เป็นรายงานการศึกษาของ  Wang ZX และคณะที่ลงใน วารสาร  Cytotherapy (2014 Jul; 16(7): 934-45 )   เรื่อง Adoptive Cellular Immunotherapy for the Treatment of Patients with Breast Cancer: a Meta-analysis  ซึ่งมีกระบวนการศึกษาจากรายงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ การรักษาด้วยเซลล์ DC-CIK  ที่มีการตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ   

เป็นการศึกษาประสิทธิผลของ  Dendritic cells (DC)   อย่างเดียว เปรียบเทียบกับ การใช้  Cytokine-induced killer (CIK) cells   อย่างเดียว และ กลุ่มที่ใช้ร่วมกันของ  DC and CIK cells ในการรักษามะเร็งเต้านม 633 คน พบว่า

การใช้  DC-CIK cells  มีอัตราการอยู่รอดที่ 1 ปี ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.0001)   The Karnofsky Performance Status  ซึ่งเป็นค่าที่แสดงสภาวะหรือสภาพของร่างกาย ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญ   (P < 0.0001). จำนวนของ T cells (CD3(+), CD4(+) และ CD4(+) CD8(+), CD16(+) monocytes, and CD3(+)CD56(+) natural killer T cells   ในเลือดผู้ป่วยเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ (P 0.05)  และยังมี ผลอื่นๆอีกหลายอย่างที่บ่งชี้ ถึงประสิทธิผลของ DC-CIK  ได้แก่ระดับที่สูงขึ้นของ  interleukin-2, interleukin-12, tumor necrosis factor-α, interferon-γ  และการลดลงของ  alpha-fetoprotein, cancer antigen embryonic antigen and carbohydrate antigen tumor markers were decreased (P < 0.00001)

โดยสรุป จากรายงาน การเซลล์บำบัด ชนิด DC-CIK cell therapy  สามารถช่วยในเรื่องระยะการมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น และเป็นการเพิ่มประสิทธิผลในการรักษามะเร็งเต้านม
ในอนาคต คงมีการศึกษาที่ชัดเจนมากขึ้น และอาจเป็นการรักษามาตรฐานที่ยอมรับกันได้ทั่วไปครับ

ข้อคิดสำหรับการรักษาเทคนิคใหม่ๆ
1. ความเชื่อ ทฤษฎี ความน่าจะเป็น  ถือว่าเป็นความเชื่อส่วนบุคคล  ที่จะนำไปปฏิบัติ  บนความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้ป่วยและผู้ให้การรักษา    แต่ต้องอยู่พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และไม่ก่อให้เกิดผลเสียกับผู้ป่วย

2. รายงานการศึกษาเบื้องต้น เพียง 1 การศึกษา อาจบ่งบอกความน่าจะเป็น เช่น รายงานนี้  เป็นการเทียบระหว่าง 3 วิธี ความน่าจะเป็น คือ CD-CIK น่าจะดีที่สุด   แต่การที่จะนำมาเป็นการรักษามาตรฐาน ต้องมีการเปรียบเทียบกับการรักษามาตรฐาน    อย่างไรก็ตาม  รายงานนี้เป็นแนวโน้มทางวิชาการ  ที่จะนำไปสู่การศึกษาให้เป็นวิธีการรักษามาตรฐานในอนาคต  

3. ถ้าเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว ท่านจะเป็นผู้ให้และผู้รับการรักษานั้น อย่างสบายใจที่สุดเพราะไม่รู้ว่าเมื่อไร จึงจะสามารถมีรายงานการศึกษาให้เป็นมาตรฐาน  และถ้าใช้เลยโดยยังไม่มีรายงานที่สมบูรณ์ จะเหมาะสมหรือไม่   อยู่ที่ดุลยพินิจของผู้ให้และผู้รับที่มีความเข้าใจและเอื้ออาทรต่อกันครับ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น