ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การใช้ยา
การผ่าตัด ปัจจุบัน มีการนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มาใช้อย่างมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นการวินิจฉัยที่เรารู้จักกันดี คือ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง คือ
เครื่องเร่งอนุภาค เพื่อการฉายรังสี ในปัจจุบัน
มีการใช้อุณหภูมิที่เกิดจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ชนิดต่างๆที่ทำให้เกิดความร้อน ที่เรียกว่า
Hyperthermia นำสู่ความก้าวหน้าในการรักษาโรคมะเร็งอย่างมากมาย
ในขณะเดียว อุณหภูมิที่เย็นจัด
ซึ่งนำมาใช้เพื่อการจี้ หรือ ตัดก้อนเนื้อ เส้นเลือด ก็พัฒนาอย่างมาก จึงเกิดสมาคมที่ว่าด้วย อุณหภูมิทางการแพทย์ (Society for Thermal Medicine) ซึ่งมีการจัดการประชุมประจำปี ครั้งที่ 32 ที่ Florida ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 14-17 เมษายน
2015
ที่มา: http://www.thermaltherapy.org/eBusSFTM/ |
เนื้อหาการประชุมแสดงถึงความก้าวหน้าในเชิงลึก
ตั้งแต่ Tumor Immunology , Nanoparticles and Hyperthermia Cryotherapy,
Thermal Sensitive Drug Delivery ที่แสดงผลของความร้อน
หรือความเย็น ที่มีความสัมพันธ์ กับการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำยา
ที่เข้าสู่ในบริเวณที่เป็นโรค
และการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
วันนี้ผมจะนำตัวอย่างรายงาน ความพยายามนำความร้อน หรือ Hyperthermia เข้ามาช่วยรักษา ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ไม่ได้ผลจากการรักษามาตรฐาน หรือกลุ่มโรคกลับมาเป็นใหม่ ที่นำเสนอในการประชุมครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวคิดพัฒนาต่อไปในอนาคต
เรื่องแรก นำเสนอโดย S. Dharmaiah จาก Cleveland clinic USA ที่ใช้ความร้อน หรือ Hyperthermia ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่กลับเป็นใหม่ หลังการรักษามาตรฐานทั่วไป จำนวน 30 ราย โดย 26 ราย ( 87% ) ได้รับการฉายรังสีมาก่อน
ในการรักษาใหม่ ได้รับ Hypertyhermia สัปดาห์ ละ 1-2 ครั้ง ร่วมกับการฉายรังสีเฉลี่ย 35.5 Gy ผลปรากฎว่า 50 % รอยโรคหายหมด (Complete Remission ) เมื่อติดตามที่ระยะ 7 เดือน ยังสามารถควบคุมโรคได้ทั้งหมด จึงให้ข้อสรุปว่า ควรจะพิจารณาให้ Thermoradiotherapy เป็นเทคนิคหนึ่งในการรักษาสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่กลับเป็นใหม่
เรื่องที่ 2 โดย J snider จาก U of Maryland Medical center USA เป็นการรายงานผู้ป่วย อายุ 50 ปี
เป็นโรค multiple myeloma ที่กลับเป็นหลังจากเคยได้รับยาเคมีบำบัดและการฉายรังสีมาแล้ว โดยเกิดการกระจายที่เต้านมทั้ง 2 ข้าง ขนาด 3-4
ซม. ผู้ป่วยได้รับการฉายรังสีด้วยรังสีอิเลคตรอน 1 ครั้ง
ด้วยปริมาณรังสี 5 Gy ขนาดก้อนไม่ยุบลง จึงได้รังสีเพิ่มอีก 3 Gy พร้อมกับhyperthermia 40-42 องศาเซลเซียส
ก่อนที่จะได้รับ Stem
Cell Transplant ซึ่งผู้รายงานได้ให้ความเห็นว่า
เป็นรายงานแรกที่ใช้ความร้อนกับรังสี Extramedullary
Plasmacytoma ซึ่งจะทำให้เนื้องอกหายและเพิ่มผลการทำ Bone Marrow Transplantation ดีขึ้น
เรื่องที่ 3 โดยนายแพทย์ ภูมิพิศ ภัทรนุธาพร
ประเทศไทย รายงานผู้ป่วย
ที่ขยับขาไม่ได้ กำลังขาเท่ากับ 0/5 โดยมีสาเหตุจากก้อนเนื้องอกชนิด Fibrous Tumor
กดทับเส้นประสาท ในทรวงอก
มีอาการปวดมาก เนื่องจากไม่สามารถผ่าตัดก้อนเนื้องอกได้ และได้รับการรักษาด้วยรังสี เพื่อบรรเทาอาการ แต่อาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยจึงได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสี 5 Gy ต่อครั้ง ร่วมกับ Hyperthermia 42-43 องศาเซลเซียส สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ ต่อ ด้วย Hyperthermia
อีก 2 ครั้ง
ผลการรักษากำลังขาของผู้ป่วยกลับมาอยู่ที่ระดับ 4/5 พร้อมกับอาการปวดหายไป จากการรักษานี้ทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น
เริ่มยืนได้แทนการที่ต้องนอนตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 รายงานข้างต้น แม้ผลการรักษาจะได้ผลดี แต่ยังไม่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นมาตรฐานในปัจจุบัน
เพราะเป็นเพียงการรายงานผู้ป่วยหรือ การรวบรวมกลุ่มผู้ป่วย แต่ จะเห็นได้ว่า
หากเรามีการใช้ หรือ ศึกษาเพิ่มขึ้น เราจะแยกกลุ่มหรือชนิดผู้ป่วยที่ได้ข้อบ่งชี้ชัดเจนยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะในสภาวะของผู้ป่วยที่มีความหวังน้อยจากการรักษามาตรฐานในปัจจุบัน
การรักษาเหล่านี้ยังใหม่อยู่ ด้วยเทคโนโลยีที่เพิ่งเริ่ม คล้ายกับ เมื่อ 20 ปี ก่อน
ที่การฉายรังสีรักษามะเร็งตับ
ยังไม่เป็นมาตรฐาน ที่ก่อให้เกิดคำถามมากมายในการใช้รังสี
เพื่อรักษามะเร็งในตับ แต่ปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทำให้รังสีจำกัดเฉพาะในก้อนมะเร็ง
และปลอดภัยต่อเนื้อตับที่ดี เริ่มเป็นที่ยอมรับในการรักษาเพื่อบรรเทาอาการในกลุ่มโรคระยะลุกลามที่ผ่าตัดไม่ได้ หรือรอยโรคเล็กๆที่มีข้อจำกัดจากการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ
หรือ การรักษาร่วมในกรณีที่ผ่าตัดไม่ได้นั่นเองครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น