โดยทั่วไป คนเราจะไปหาหมอ เมื่อมีอาการเจ็บปวด ไม่ว่าทางกาย หรือทางใจ ซึ่งทางแพทย์มักจะบันทึกหรือเรียกว่า อาการสำคัญที่นำมาพบแพทย์
ส่วนการตรวจคัดกรองนั้น จะเป็นการค้นหาโรค ในผู้ที่ยังไม่มีอาการของโรค ในที่นี้ เราจะพูดจำเพาะโรคมะเร็ง โดยมีเป้าหมาย เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต และ เจ็บป่วยจากโรคมะเร็ง
ส่วนการตรวจคัดกรองนั้น จะเป็นการค้นหาโรค ในผู้ที่ยังไม่มีอาการของโรค ในที่นี้ เราจะพูดจำเพาะโรคมะเร็ง โดยมีเป้าหมาย เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต และ เจ็บป่วยจากโรคมะเร็ง
จะมีคนกลุ่มหนึ่งไม่นิยมตรวจ ด้วยยังรู้สึกไม่ถึงเวลา
หรือ เพราะความกลัวล่วงหน้าว่าจะตรวจพบว่าเป็นอะไร ขอให้มีอาการทนไม่ได้ก่อนแล้วค่อยว่ากัน
อีกกลุ่มหนึ่งคือ คนที่กลัวมะเร็งมาก และตรวจทุกอย่าง
ด้วยเครื่องมือทุกชนิด จนเกินความจำเป็น แต่ที่สำคัญกว่านั้น
คือ ผลบวกลวง
ซึ่งนำไปสู่การการตรวจเพิ่มเติม ไม่ว่า การส่องกล้อง หรือการผ่าตัด เสียเงิน เสียทอง
โดยไม่จำเป็น (ผลบวกลวง หมายถึง การตรวจที่พบค่าผิดปกติ หรือ
ภาพที่ผิดปกติ แต่ไม่ได้เป็นมะเร็ง ซึ่ง โดยธรรมชาติของทุกการตรวจ จะเป็น
เช่นนี้ ยังไม่มีการตรวจใด
ที่จำเพาะหรือถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์)
โรคมะเร็ง เป็นโรคที่น่ากลัวในความคิดของคนส่วนใหญ่ แต่หลายชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ การตรวจคัดกรองจะเป็นประโยชน์อย่างมาก
โดยเฉพาะ ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยง ปัจจุบัน
เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับว่ามีความสำคัญมากเป็นอันดับต้นๆ ที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรค ดังจะเห็นได้จากประเทศที่พัฒนาแล้ว
เช่น ทวีปยุโรปและอเมริกา ที่อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลดลง
ปัจจุบัน การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่างๆ สามารถพบตั้งแต่ปัจจัย
หรือ การก่อตัวที่ผิดปกติของเซลล์ ก่อนที่จะเป็นเซลล์มะเร็ง แม้แต่ประเทศไทยเอง ไม่ว่ามะเร็งเต้านม หรือ
มะเร็งปากมดลูก ก็มีสถิติการพบในระยะเริ่มแรกและรักษาหายขาดมากขึ้นในบทนี้
จึงนำการตรวจคัดกรองที่มีผลนัยสำคัญชัดเจน ว่าสามารถลดอัตราตาย
จากการคัดกรองในประชากรปกติ ซึ่งอาจจะแตกต่างไป ตามสถิติและการอ้างอิง โดยเฉพาะภูมิประเทศ และวัฒนธรรมในแต่ละประเทศ ดังนั้น
ตัวเลขอายุ ความถี่และระดับความจำเพาะอาจจะแตกต่างกัน
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่เห็นประโยชน์ได้ชัดเจนคือ.
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม
และการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
1. การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
ปัจจัยสำคัญ คือความเสี่ยง
ที่จะเป็นตัวกำหนดเวลาสมควรตรวจ เช่น มีเพศสัมพันธ์อายุน้อย มีการติดเชื้อบ่อย
ตกขาวมากผิดปกติ มีบุตรมาก สูบบุหรี่
ดังนั้นถ้าไม่ความเสี่ยงใดๆ ก็อาจจะตรวจได้ที่อายุ 30 ปี แต่หากมีข้อบ่งชี้ดังกล่าว ก็ควรตรวจก่อน ในบางประเทศ เริ่มตรวจคัดกรองในผู้หญิงปกติทุกคน
ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไปหรือที่ 3 ปีหลังมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ส่วนการติดตามความถี่
ก็จะขึ้นอยู่กับผลการตรวจ อย่างในประเทศไทย ก็เคยใช้นโยบายการตรวจทุก 3 ปีในผู้ที่ผลการตรวจปกติเป็นต้น
ที่สำคัญ คือ ผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกัน
ก็ต้องตรวจนะครับ (อ่านได้ในบทเรื่อง HPV ใน Blog นี้ ครับ)
2. การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมมี 3 วิธีสำคัญ ซึ่งผู้รับการตรวจควรต้องปฏิบัติทั้ง 3 วิธี
ดังนี้
2.1 การตรวจเต้านมด้วยตนเอง สามารถเริ่มที่อายุ 18- 20 ปี และควรตรวจสม่ำเสมอต่อเนื่อง
เพราะทำได้ง่ายด้วยตนเอง (อ่านเพิ่มเติมในบทการตรวจเต้านมด้วยตนเอง)
2.2 การตรวจเต้านมโดยแพทย์ วิธีการตรวจคล้ายกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ในประเทศไทยเรา มักจะเป็นพบแพทย์เมื่อสงสัย
แต่ในบางประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมสูง ก็จะพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกาย
เมื่ออายุ 20 - 39 ปี หากปกติและไม่มีอาการใดๆก็สามารถตรวจทุก 3 ปี แต่หากเกิดรู้สึกว่ามีสิ่งผิดปกติควรพบแพทย์ก่อนเวลานัด
เมื่ออายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปควรพบแพทย์ตรวจคลำเต้านมทุกปีโดยเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพประจำปี
2.3 การตรวจภาพรังสีเต้านม (Mammogram) เป็นการตรวจภาพเต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์เทคนิคเฉพาะเต้านม
อายุที่เหมาะสมนั้นแตกต่างกันไป โดยเป็นช่วง 40-50 ปี สำหรับคนปกติทั่วไป ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม และติดตามทุก 3 ปีแต่ในกลุ่มเสี่ยง เช่นมีประวัติครอบครัว มีอาการเจ็บ หรือ เคยตรวจพบสิ่งผิดปกติ ให้อยู่ขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์
อายุที่เหมาะสมนั้นแตกต่างกันไป โดยเป็นช่วง 40-50 ปี สำหรับคนปกติทั่วไป ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม และติดตามทุก 3 ปีแต่ในกลุ่มเสี่ยง เช่นมีประวัติครอบครัว มีอาการเจ็บ หรือ เคยตรวจพบสิ่งผิดปกติ ให้อยู่ขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์
ภาพประกอบจาก: https://www.sharecare.com |
3. การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
สมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำให้บุคคลทั่วไปทั้งผู้หญิงและผู้ชายควรตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เริ่มตั้งแต่อายุ
50 ปีขึ้นไป หลังจากนั้นอาจตรวจทุก 3 ปี เมื่อผลตรวจครั้งแรกปกติ
แต่ทั้งนี้ขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งจะดูตามประวัติและปัจจัยเสี่ยง
ขอย้ำอีกครั้งนะครับ
ที่กล่าวมานี้ เป็นระดับประชากร แต่การตรวจคัดกรองอื่นๆยังคงเป็นมาตรฐานที่ใช้ได้เฉพาะบุคคล เช่น การตรวจระดับ PSA ในชายสูงวัย การตรวจ Low
dose CT ในประชากรที่สูบบุหรี่จัด เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า การตรวจคัดกรองมะเร็ง
เริ่มเปลี่ยนมิติจากข้อแนะนำหรือ ข้อปฏิบัติทั่วไป เข้าสู่ยุคของการคัดกรองจำเพาะบุคคล
ที่ใช้ประวัติ ส่วนตัว เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ประวัติการติดเชื้อ และประวัติครอบครัว ประเพณี วัฒนธรรม
เพื่อเพิ่มความแม่นยำ และตรวจเท่าที่จำเป็น
ซึ่งในอนาคต ก็จะมีการตรวจที่ลึกลงไปเพื่อระดับชีวโมเลกุลที่สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงได้ชัดเจนมากขึ้นครับ
ท่านผู้อ่านครับ
ความจริงในวันนี้ คือ มะเร็งไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ยังมีสิทธิ์คิดป้องกันและรักษา
เพียงท่านใส่ใจดูแลตนเองในเบื้องต้นตามคำแนะนำด้านความรู้เกี่ยวกับมะเร็ง ท่านก็จะปลอดภัยจากโรคมะเร็งครับ
กดอ่านบทความต่างๆที่ผ่านมา
โดยเฉพาะการตรวจมะเร็งด้วยตนเองในบล็อกเพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น