วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

อีกครั้งสำหรับเรื่องการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฝั่งแร่


เดิมผมคิดว่าจะไม่เขียนเรื่องไอโอดีน หรือ การฝังแร่ที่มีข่าวในขณะนี้ แต่มีคำแนะนำจากเพื่อนๆ ให้ลงเรื่องนี้ให้เป็นประโยชน์    

ผมจึงขอเรียนอย่างนี้นะครับว่า ผมได้เขียนเรื่องนี้มาแล้ว ตั้งแต่วันที่  6  พย. 2557 เรื่องอันตรายและข้อควรปฎิบัติ เมื่อได้รับการรักษาด้วยการฝังแร่ ซึ่งในหลายโรงพยาบาลก็จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับรังสี ที่ดูแลอยู่ เมื่อมีผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการฝั่งแร่มาตรวจรักษา แต่ประเด็นอยู่ที่เราไม่ทราบประวัติมาก่อน และผู้ป่วยเองก็ไม่ทราบถึงอันตรายของอันตรายของแร่ที่มีอยู่ในตัวเอง

ส่วนเรื่องผลการรักษา ที่ผมไม่เขียนนั้น  เพราะการฝังแร่เป็นวิธีการรักษาชนิดหนึ่งที่ใช้ได้ในหลายโรค   ดังนั้น การรักษานั้น จะถูกต้องหรือไม่ เป็นความรับผิดชอบของแพทย์ ร่วมตัดสินใจกับผู้ป่วย และแน่นอนที่สุด คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่จะตรวจสอบ เมื่อมีความผิดปกติขึ้น

การรักษาทุกชนิดล้วนแล้วแต่มีข้อดีและข้อเสีย การปฎิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องยึดถือ  และต้องรับผิดชอบผลกระทบต่อผู้ป่วย และสังคม หากท่านมีข้อสงสัย โปรดหาความเห็นที่สอง ดังที่ผมเคยแนะนำไว้ใน blog นี้  จะเป็นประโยชน์ต่อท่านและครอบครัวครับ

สำหรับท่านที่ทำไปแล้ว ไม่ต้องกังวลหรือเสียใจนะครับ อาจจะเป็นผลดีก็ได้ โปรดปรึกษาแพทย์ที่ท่านรักษาอยู่ ที่สำคัญ คือ แร่ จะสลายตัวไป เมื่อเวลาผ่านไปครับ ไม่ได้น่ารังเกียจแต่ประการใดครับ หาก เราดูแลอย่างถูกต้อง


ขอย้ำอีกครั้งนะครับ  ปรึกษากันให้รอบคอบก่อนการรักษา  ศึกษาข้อบ่งชี้ในการฝังแร่ให้ชัดเจนนะครับ เพราะถ้าเป็นมะเร็งปากมดลูก และใส่แร่อิริเดียม เป็นข้อบ่งชี้ที่ถูกต้องนะครับ  สิ่งที่เป็นประเด็นในเวลานี้ คือ แร่ ไอโอดีน ชนิดฝังนะครับ ส่วนที่กินเพื่อรักษามะเร็งหรือโรคธัยรอยด์ ก็ยังเป็นมาตรฐานนะครับ

ที่มา: สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น