วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

ความเครียดกับโรคมะเร็งตอนที่ 3: เรามาดูกันว่า เราน่าจะเครียดหรือไม่

เรามาดูชีวิตจริงของคนคนหนึ่ง ที่สนุกกับงานที่ชอบและท้าท้าย   ทำงานเช้าสายบ่ายเย็นมืดค่ำในหกวันของสัปดาห์

ตื่นตั้งแต่  04.30 น.  อาบน้ำ แต่งตัว ทานอาหารเช้า รีบไปที่ทำงาน กลัวรถติด ถึงที่ทำงานก่อน 7 โมงเช้า  ลงมือทำงาน  ใช้ชีวิตแบบใจบินเร็วกว่าเครื่องบิน สมองใช้งานพุ่งเหมือนจรวด จบงานหนึ่ง เริ่มอีกงานหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง ติดตามเทคโนโลยีที่ไม่มีวันหยุดนิ่ง

มีคำถามทั้งจากตัวเองและคนรอบข้างว่า เมื่อไรจะหยุด...

หันกลับไปดูหลานซึ่งกำลัง เรียน ป.1 ชีวิตของเด็กน้อยแทบจะไม่ต่างกับผู้ใหญ่   ตื่นนอนแต่เช้า ซึ่งน่าจะเรียกว่า แซะออกจากที่นอนเพื่อ รีบอาบน้ำแต่งตัว ทานอาหารเช้า ออกจากบ้านตั้งแต่เช้า ด้วยกลัวรถติด เรียนถึงเย็น  บางวันแถมยังมีไปเรียนดนตรี ภาษาอังกฤษ ว่ายน้ำ (ตามธรรมเนียมปฏิบัติของเด็กสมัยนี้ที่ต้องขวนขวายทุกอย่างเพื่อให้ได้เท่าทันเพื่อ )  กลับบ้านยังมีการบ้านอีก  2-3 ทุ่ม กว่าจะได้เข้านอน
เมื่อครั้งที่เรียนอนุบาล มีผู้สนับสนุนให้ย้ายไปเรียน ป.1 ในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง กลางเมือง ก็ตัดสินใจเลือกเรียนโรงเรียนชานเมือง แบบสบายๆ ไม่ต้องรถติด ไม่ต้องเครียด  ไม่ต้องแต่งตัวหรือ กินอาหารเช้าบนรถ  แต่ไม่นาน  ความเจริญก็มาถึง ด้วยห้างสรรพสินค้า และตึกใหญ่ รถก็เริ่มติดที่หน้าปากซอยตั้งแต่เช้าก่อนหลังหกโมงครึ่ง

ผมนึกถึงภาพยนตร์ สารคดีเรื่องหนึ่งที่เปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบัน
ภาพปัจจุบัน  :  เด็กรีบขึ้นรถ พ่อแม่ขับออกทันที ผ่านลุงสูงอายุที่อยู่ข้างบ้าน นั่งเหม่อมองเห็นรถวิ่งผ่านไป  โดยไม่มีการทักทาย
ภาพอดีต  :  เด็กเดินผ่านหน้าบ้านลุงคนนั้น   เพื่อไปโรงเรียน หันมายิ้มทักทาย ลุงยิ้มรับอย่างมีความสุข ไม่มีรถ  แต่มีความสุขครับ  เผื่อแผ่ ถึงผู้เฒ่าได้ชื่นใจด้วย
ผมจำภาพในสารคดีนี้ติดตาครับ เราอยากได้ภาพเป็นอยู่ที่เรียบสงบ มีความสุข จึงเป็นที่มาของคำว่า slow life ซึ่งเหมาะเป็นอย่างยิ่งที่จะนำมาแตะเบรก ความเร่งรีบ ของสังคมปัจจุบัน    ที่เราต้องเร่ง เพื่อทำให้ทัน  ไม่ว่าจะเป็นงานในหน้าที่ การใช้ชีวิตกับครอบครัว หรือการสังสรรค์กับเพื่อนฝูง   งานสังคม เรียกว่าวิ่งกันแทบไม่ทัน

พื้นฐานของความคิด น่าจะมาจากความรู้สึก  วิถีชีวิตที่เร่งรีบ ก่อให้เกิดปัญหามากมาย ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทำให้มนุษย์กลายเป็นเพียงเครื่องจักรในการผลิตสินค้าและบริการ  ท้ายที่สุด หลายประเทศ จึงแสวงหาดัชนีแห่งความสุขแทนดัชนีความเติบโตทางเศรษฐกิจ  เหมือนที่เรารู้จักกันดีถึงเรื่องประเทศภูฏาน หรือแม้แต่จังหวัดที่น่าอยู่ในประเทศไทย แทนที่จะเป็นกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยความเจริญทางวัตถุ กลับกลายเป็นต่างจังหวัดที่ไม่วุ่นวาย ไม่แออัด  การจราจรสะดวกสบาย ค่าครองชีพไม่สูง เช่น จังหวัดหนองคาย


เรากำลังจะสลายความเครียดด้วยบรรยากาศบ้านนอกกลับไปสู่วิถีชีวิตธรรมชาติ
กระแสการใช้ชีวิตที่ช้าลง เรียบง่าย จึงเกิดขึ้น  เริ่มเป็นที่มาของ  Slow Life  
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจน คือ ประเทศญี่ปุ่น   ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า  คนญี่ปุ่น  บ้างาน ทำงานหามรุ่งหามค่ำ  หรือที่เรียกว่า  Workahollic     ด้วยวิถีชีวิตที่ รวดเร็ว ถูก สะดวก และ มีประสิทธิภาพ   fast, cheap, convenient, and efficient  ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ แต่นำมา ซึ่งความเสื่อมของมนุษย์  การเจ็บป่วยของสังคม และ สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ   dehumanization, social ills, and environmental pollution

จนกระทั่งมีการประกาศตัวของชาวเมือง Kakegawa  ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงโตเกียว  ที่มีประชากรราว  80,000 คน   ได้ กำหนดเดือนพฤศจิกายน เป็น เดือนแห่งชีวิตที่ไม่เร่งรีบ Slow Life Month      มีวิถีชีวิตที่ผ่อนคลายและสุขสบาย   ขึ้นเป็นครั้งแรก   เพื่อเป็นต้นแบบของการกำหนดทิศทางในอนาคตของเมืองที่ไม่เร่งรีบ ซึ่งแน่นอนที่สุดที่จะต้องมีปัญหาในกลุ่มธุรกิจที่ต้องยอมรับระบบการทำงานที่เปลี่ยนไปและการเพิ่มวันหยุดที่มากขึ้น แต่นี่คือการสกัดความเครียดและการหาทางป้องกันความเครียดของ

สังคมคนเมืองอย่างเป็นรูปธรรมครับ

เราจะต่อด้วยวิถีชีวิต การก้าวสู่    Slow Life City ในศตวรรษที่ 21 ใน คราวหน้ากันนะครับ



 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น