วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด ด้วย เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบปริมาณรังสีต่ำ (Low – dose CT)


ภาพประกอบจาก: scitechdaily.com
มะเร็งปอด คือ การเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์เยื่อบุหลอดลมปอดที่ได้รับการระคายเคืองมาเป็นระยะเวลานาน จึงอาจเรียกชื่อมะเร็งตามต้นกำเนิดอีกชื่อหนึ่งได้ว่า Bronchogenic Carcinoma ซึ่งอาจเกิดในบริเวณหลอดลมใหญ่ใกล้กับขั้วปอด หรืออาจเกิดในหลอดลมแขนงเล็กๆ ส่วนปลายที่ไกลออกมาจากขั้วปอดก็ได้

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การสูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีก เช่น การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่และสูดควันบุหรี่อยู่เป็นประจำ การสัมผัสสารเคมีบางชนิด เช่น แอสเบสตอส อาร์เซนิค การสัมผัสรังสีบางชนิด เช่น เรดอน

การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดสำคัญอย่างไร 
การตรวจคัดมะเร็งปอดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก  เพราะเป็นการตรวจหามะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นก่อนที่จะมีอาการแสดง เพื่อนำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์เมื่อมีอาการเกิดขึ้น  มักเป็นการบ่งชี้ถึงการเป็นมะเร็งระยะลุกลามหรือแพร่กระจาย  ทำให้โอกาสรักษาให้หายขาดได้น้อยลง  และจากรายงานการศึกษายืนยันได้ว่าการตรวจคดกรอง จะเพิ่มอัตราการอยู่รอดอย่างมีนัยสำคัญ

ใครควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
จากการศึกษาในผู้ที่ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดสูง ที่ได้ประโยชน์จากการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดได้แก่
ผู้ที่มีอายุ 55-74 ปี ที่สูบบุหรี่ติดต่อกันเท่ากับหรือมากกว่า 30 ซองปี
(*ซองปี = จำนวนซองที่สูบต่อวัน x จ่านวนปีที่สูบ)
กรณีที่เข้าเกณฑ์ 2 ข้อข้างต้น แต่หยุดสูบบุหรี่แล้ว ต้องหยุดสูบบุหรี่มาน้อยกว่า 15 ปี

การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด ท่าอย่างไร
เนื่องจากได้มีการศึกษาเปรียบเทียบกับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสี ต่ำ (Low – dose CT) กับการตรวจด้วยภาพรังสีทรวงอกที่ใช้กันโดยแพร่หลาย หรือที่เรียกกันติดปากว่า เอกซเรย์ปอดนั้น พบว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดในผู้ที่สูบบุหรี่จัดดังกล่าวข้างต้นด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (Low–dose CT) นั้นมีความไวในการตรวจหามะเร็งมากกว่า  ทำให้ลดอัตราการตายจากมะเร็งปอดได้ดีกว่าการตรวจด้วยเอกซเรย์ปอดแบบเดิม

ดังนั้นในปัจจุบันจึงแนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปอดดังกล่าวข้างต้น ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วยการตรวจเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (Low – dose CT)              

ทั้งนี้การตรวจทำได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนเข้ารับการตรวจ ไม่มีการฉีดสารทึบรังสี ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 10-15 นาทีเท่านั้น เมื่อได้ผลการตรวจแล้ว ก็พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การวินิจฉัยและข้อแนะนำต่อไปครับ


แหล่งข้อมูล   สรุปจากเอกสารแนะนำ ของศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์






1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลและคำแนะนำครับ

    ตอบลบ