ระยะนี้เราจะได้ยิน การรักษาโรคมะเร็งด้วยการฝังแร่ จากสื่อต่างๆ
และอาจจะทราบข่าวผู้ป่วยที่ไปรักษาด้วยการฝังแร่จากต่างประเทศ และหรือในประเทศไทยเราเอง
มีการประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์ที่ได้รับ เช่น เพิ่มโอกาสการรักษา ภาวะแทรกซ้อนน้อย
ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ รวมทั้งไม่มีความเจ็บปวด ไม่เสียเลือด
ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยกลัว
ผมอยากทำความเข้าใจสักเล็กน้อยว่า
การรักษาด้วยการฝังแร่นั้นมีมานานแล้ว แต่จะมีความแตกต่างในชนิดของแร่ ที่ใช้เป็นมาตรฐานและได้รับการยอมรับ คือ การฝังแร่
เพื่อการรักษามะเร็งปากมดลูก ซึ่งมีการใช้ตั้งแต่แร่เรเดียม โคบอลท์ และอิริเดียม โรคอื่นๆที่ใช้กันมากนอกจากมะเร็งปากมดลูก แล้ว
ก็จะเป็นมะเร็งมดลูก มะเร็งโพรงหลังจมูก มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นต้น การฝังแร่แบบนี้จะปลอดภัย เพราะผู้ป่วยจะไม่มีสารกัมมันตรังสีตกค้างในตัว
เพราะแท่งแร่ทุกแท่ง เม็ดแร่ทุกเม็ด
จะถูกเก็บกลับคืนในโรงพยาบาลโดยผู้เชี่ยวชาญ
แต่การฝังแร่ที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ เป็นการฝังแร่ ไอโอดีน 125 ซึ่งใช้ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
หรือที่นำไปใช้รักษาในอวัยวะอื่นๆ จะปล่อยรังสีแกมมา 35 KeV
มีระยะเวลา ครึ่งชีวิต 60.25 วัน ซึ่งหมายถึงปริมาณรังสีจะลดลงเหลือครึ่งหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไป
60 วัน
ในวันนี้จึงนำข้อแนะนำของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
ในด้านผลการรักษานั้นจะไม่กล่าวถึงในวันนี้
เพราะเป็นดุลยพินิจของแพทย์ที่ให้การรักษาทั้งข้อบ่งชี้และผลการรักษา
แต่ที่จะพูดถึง คือ ความปลอดภัยทางรังสี
ที่มักจะถูกลืม หรือ ไม่ทราบจริงๆ ถึงอันตรายของรังสีที่มีอยู่ในตัวผู้ป่วย
โดยเฉพาะที่เดินทางไปรักษาในต่างประเทศ บางครั้งจะมีข้อจำกัดในการสื่อสาร ดังนั้นผู้ป่วยจำนวนหนึ่งได้รับการรักษาโดยการฝังแร่ไอโอดีน-125
จากต่างประเทศ และมีความจำเป็นต้องมาติดต่อเพื่อรับการรักษาต่อเนื่องในประเทศไทย อาจจะมีปัญหาในความปลอดภัยของผู้ป่วยเอง หรือแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานรวมถึงครอบครัวและประชาชนโดยทั่วไป
ผมจึงขอนำคำแนะนำของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติมาเพื่อเป็นความรู้และข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้เกี่ยวข้อง
ดังนี้
1.ผู้ป่วยต้องไม่อยู่ใกล้กับสตรีมีครรภ์และเด็ก เป็นเวลานานๆ
โดยเฉพาะในช่วงเดือนแรก
2.ในช่วงหนึ่งเดือนแรกควรให้ผู้ป่วยแยกพักต่างหาก
ไม่ควรพักรวมกับบุคคลอื่น ยกเว้นกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
3.ในกรณีที่เข้ารับการรักษาต่อเนื่องในโรงพยาบาลผู้ป่วยต้องแจ้งให้โรงพยาบาลทราบว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยการฝังแร่ไอโอดีน
- 125
4.กรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตหลังการรักษาด้วยการฝังวัสดุกัมมันตรังสี
ญาติผู้ป่วยจะต้องแจ้งแพทย์ผู้ให้การรักษา (แพทย์เจ้าของไข้)
เพื่อขอคำแนะนำในการดำเนินการเพื่อความปลอดภัย
โดยให้ดำเนินการตามข้อแนะนำของทางโรงพยาบาล
5.กรณีการฝังศพ สามารถดำเนินการฝังได้ โดยให้ดำเนินการตามข้อแนะนำ
ของทางโรงพยาบาล
6.กรณีการฌาปนกิจศพสามารถดำเนินการได้ หากฝังแร่ไอโอดีน - 125
มาไม่น้อยกว่า 1 ปี หากไม่สามารถทำได้
ผู้ที่เก็บอัฐิหรือเถ้ากระดูกหลังจากการฌาปนกิจศพ ควรสวมหน้ากากและถุงมือ
เพื่อป้องกันอันตรายจากรังสี โดยอัฐิและเถ้าถ่านที่เหลือควรจัดเก็บไว้ในภาชนะโลหะอย่างน้อย
1 ปี
7.ไม่ควรแพร่กระจายอัฐิสู่สิ่งแวดล้อม จนกว่าระยะเวลาผ่านไปประมาณ 20
เดือน”
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ แพทย์ผู้ให้การรักษา หรือ
กลุ่มกำกับดูแลความปลอดภัยการใช้รังสีทางการแพทย์ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โทร.
0-2596-7600 ต่อ 3516-3517
ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ในเรื่งนี้
ตอบลบ