วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การใช้ความร้อนร่วมรักษาในมะเร็งกระจายมาที่กระดูก

เป็นที่ทราบกันดีว่า การฉายรังสี เป็นการรักษามาตรฐานในการรักษามะเร็งกระจายมาที่กระดูก ยกเว้นในกรณีที่มี การกดทับเส้นประสาท หรือ การหักของกระดูกที่ต้องรับการผ่าตัด ผลการรักษาทำให้ผู้ป่วยหายป่วย แต่ก็จะมีปัญหา เรื่องการกลับมาปวดอีกเนื่องจากระยะการควบคุมโรคสั้น เพราะปริมาณรังสีที่ใช้อยู่ในระดับเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น  

ตัวอย่างผลการให้ความร้อนร่วมกับการฉายรังสี

ตัวอย่างผลการให้ความร้อนร่วมกับการฉายรังสี

จาก  Clinical Trial .gov  ซึ่งเป็นศูนย์รวมหนึ่ง ที่มีการรวบรวมงานการวิจัยที่กำลังดำเนินการ เป็นงานหนึ่งของ U.S. National Institutes of Health  ที่มีประโยชน์ทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และบุคลากรทางการแพทย์ ในการค้นหาแนวทางการรักษาใหม่ๆ มีงานวิจัยหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การศึกษาเปรียบเทียบการฉายรังสีร่วมกับความร้อนกับการฉายรังสีเพียงอย่างเดียวในการรักษาผู้ป่วยที่เจ็บปวดจากมะเร็งที่แพร่กระจายที่กระดูก
เป็นการวิจัยของ ศาสตราจารย์ Kwan-Hwa Chi จาก Shin Kong Ho-Su Memorial hospital โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่มีการกระจายที่กระดูก ยกเว้นบริเวณศีรษะ และกลุ่มที่มีข้อห้ามในการใช้ความร้อน เช่น pace maker หรือ มีโลหะ ในบริเวณที่ทำการรักษา  มีอาการปวดที่ประเมินความรุนแรงระดับ  4 จาก 10 และสามารถวัดขนาดรอยโรครักษา โดยใช้การฉายรังสีเพียงอย่างเดียว 30Gy/10fx/2 weeks  หรือ การฉายรังสีร่วมกับความร้อน 42℃ ± 0.5℃  40 นาที  2  ครั้งต่อสัปดาห์  ภายใน  2  ชั่วโมงหลังการฉายรังสี ด้วยเหตุผล 3 ประการ
  1. รังสีรักษาเป็นวิธีการหลักของการรักษามะเร็งกระจายที่กระดูก แต่มีข้อจำกัดในปริมาณรังสี โดยเฉพาะตำแหน่งที่มีอวัยวะสำคัญอยู่ใกล้บริเวณต้องฉายรังสี ทำให้มีระยะเวลาที่สามารถควบคุมโรคได้สั้น ผู้ป่วยจึงกลับมามีอาการปวดอีกในช่วงระยะเวลาอันสั้น ในกลุ่มนี้ บางครั้งไม่สามารถฉายรังสีซ้ำได้
  2. จากรายงานการศึกษา พบว่าผลดีของการใช้ความร้อน  คือ  สามารถเพิ่มผลการฉายรังสี ทำให้ผลการควบคุมโรคดีกว่าการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว หรือเรียกได้ว่า Hyperthermic Radiosensitization 
  3. ด้วยทฤษฎี  ที่เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้  แม้ว่าจะไม่มีการพิสูจน์ชัดเจนทางคลินิก  แต่ก็มีรายงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเชื่อว่าอาจจะเกิดผลการรักษาที่ไม่คาดหวังได้ในอนาคต
เนื่องจากการศึกษานี้ยังไม่ปิด จึงยังไม่สามารถสรุปผลการรักษาได้ แต่ในรายงานเบื้องต้นของผู้วิจัยที่เคยนำเสนอในลักษณะเดียวกันถึงเดือน ตค 2014 มีผู้ป่วยจำนวน 17 ราย  พอจะสรุปได้ โดยกำหนด กลุ่ม  Complete response (CR) หมายถึงระดับการปวดเท่ากับ  0 ในตำแหน่งที่รักษา โดย Partial Response (PR)  หมายถึงการปวดที่ลดลงมากกว่า 2 ระดับ  โดยไม่มีการเพิ่มยาแก้ปวด หรือการลดลงของยาแก้ปวด 25% โดยไม่มีการปวดเพิ่มขึ้น  Progression disease (PD) หมายถึง ปวดเพิ่ม 2 ระดับ หรือ ต้องเพิ่มยามากกว่า 25 % ทั้งนี้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงการรักษาอื่นที่ได้รับอยู่ เช่น Chemo เป็นต้น

ผลการรักษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับความร้อนร่วมด้วย  10 คน มี CR  5  ราย  (50%)  PR   5  ราย  (50%)   ในขณะที่กลุ่มซึ่งฉายรังสี  อย่างเดียว 7 ราย ไม่มี CR และส่วนใหญ่
5 ใน 7  ราย  (คิดเป็น 71%) เป็น PR และ 2 ราย (SD) (คิดเป็น 29%)  ซึ่งนับว่า ผลการใช้ความร้อนสามารถเสริมผลการรักษาด้วยรังสีในผู้ป่วยมะเร็งกระจายที่กระดูก คุณภาพชีวิตดีขึ้นจากการลดยา และอาการปวดที่หายไป อย่างไรก็ตาม คงต้องรอจำนวนผู้ป่วยครบตามเกณฑ์ จึงจะประเมินความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติได้

เครดิตภาพประกอบ: ผลงานการศึกษาการการใช้ความร้อนร่วมกับการฉายรังสีในมะเร็งกระจายมาที่กระดูก ของ Prof. Kwan-Hwa Chi จาก Shin Kong Ho-Su Memorial Hospital 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น