ภาพประกอบจาก: http://globalbiodefense.com |
หนึ่งในวิธีการรักษาโรคมะเร็งธัยรอยด์ คือ การให้รังสีไอโอดีน เพื่อเป็นการรักษาเสริมหลังจากการผ่าตัด หรือใช้รักษามะเร็งที่มีการแพร่กระจาย รังสีไอโอดีนที่ว่านี้ เป็นรังสีไอโอดีนแบบกิน ซี่งจะแตกต่างกับไอโอดีนที่ใช้ฝังนะครับ
ปัญหาสำคัญ
ที่ถูกถามบ่อย คือ ปริมาณรังสีไอโอดีนที่ควรจะได้รับ รวมทั้งการป้องกันอันตรายจากรังสี ซึ่งผมเคยเขียนใน blog นี้ แล้ว สำหรับวันนี้ผมขอพูดถึงเรื่องปริมาณรังสีไอโอดีนในการรักษาแต่ละครั้ง
และปริมาณรังสีรวมสูงสุด ซึ่งมีผลต่อวิธีการรักษาผู้ป่วย
ปริมาณรังสีไอโอดีนในแต่ละครั้ง
ปริมาณรังสีสูงสุดที่ใช้แต่ละครั้ง
ในการรักษามะเร็งธัยรอยด์จะแตกต่างตามเทคนิค และความเหมาะสม หรือข้อบ่งชี้ โดยจะแตกต่างกันตั้งแต่ 30 mCi -
200 mCi โดยในกลุ่มที่ได้ปริมาณรังสีสูงกว่า 30
mCi จะต้องรับไว้เป็นผู้ป่วยใน เพื่อควบคุมความปลอดภัยตามข้อกำหนดของสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
(IAEA) ซึ่งก็ยังไม่เป็นปัญหามากเพราะส่วนใหญ่จะมีข้อกำหนด พร้อมทั้งวิธีการปฏิบัติให้ผู้ป่วยและญาติทำตามอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง ของการเป็นผู้ป่วยใน ทำให้สถานพยาบาลบางแห่งพยายามที่จะรักษาผู้ป่วย โดยไม่ต้องรับเป็นผู้ป่วยใน ซึ่งจะต้องมีเงื่อนไขที่เหมาะสม โดยจะพิจารณาเรื่องที่พักอาศัย ความจำเป็นของผู้ป่วยและความสามารถในการปฎิบัติตามแนวทางป้องกันอันตรายจากรังสี ซึ่งในกลุ่มนี้ มีรายงานความปลอดภัยในปริมาณรังสีที่สูงถึง 100 mCi
ได้ โดยต้องเป็นข้อตกลงและรับรองความปลอดภัย และอยู่ในความรับผิดชอบของแพทย์
ร่วมกับผู้ป่วย ซึ่งหากฝ่าฝืนกฎปฏิบัติ ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้อื่นได้
ปริมาณรังสีไอโอดีนรวมทั้งหมด
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่มีความสับสนในการแนะนำผู้ป่วย เพราะหลายครั้งการอ้างอิงมาตรฐานเดิม ทำให้มีข้อจำกัดสำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็น เพราะในมาตรฐานเดิมจะเป็น 1000 mCi จะให้เกินกว่านี้ได้หรือไม่
ผมขอนำคำตอบของ
Carol S. Marcus, PhD, MD Professor of Radiation Oncology and of
Radiological Sciences, UCLA จาก Health
Physic Society ซึ่งเป็นกลุ่มผุ้เชี่ยวชาญ
เรื่องความปลอดภัยทางรังสี ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ และทบทวนเมื่อ สิงหาคม 2014 ว่า ในปี คศ.
1950 มี รายงานผู้ป่วย
มะเร็งธัยรอยด์ ที่รักษาด้วย ปริมาณที่เกิน
37 GBq หรือ 1000 mCi เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) หลังจากนั้นก็เลยเป็นข้อกำหนดว่าไม่ควรให้ รังสีไอโอดีนเกิน 37
GBq ซึ่งก็สามารถลดอุบัติการณ์
ของมะเร็งทุติยภูมิ หรือ Second Primary Cancers ได้
ความคิดถัดมาคือ ด้วยวัตถุประสงค์ในการรักษามะเร็ง แม้จะเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งชนิดที่สองในโอกาสต่อมา แต่หากจำแป็นต้องรักษาและยังมีส่วนของเนื้องอกที่ยังจับสารรังสีไอโอดีน แม้จะเกิน 37 GBq ก็น่าจะพิจารณาให้เพิ่มได้ ซึ่งในเรื่องมะเร็งทุติยภูมิก็เป็นเรื่องที่ยอมรับกัน ในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการฉายรังสีทั่วไป แม้รายงานล่าสุดโดย Fallahi B และคณะที่รายงานการศึกษาใน Clinical Nuclear
Medicine ปี 2011 ไม่มีการเพิ่มของ
มะเร็งทุติยภูมิในการรักษาด้วย หลังการรักษาด้วย usual 131I ในปริมาณมาตรฐาน แต่ จะเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเกิน 37 GBq
นำไปสู่การยืนยันว่าไม่ควรเกิน 37 GBq
แต่หากท่านต้องการรักษามะเร็ง ท่านก็ต้องทำ แม้จะต้องเสี่ยงกับการโอกาสที่อาจจะเกิดมะเร็งทุติยภูมิ ในอนาคต
สิ่งที่สำคัญที่ควรตระหนัก
คือการเพิ่มของระดับ Thyroglobulin ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของก้อนมะเร็ง ไม่ควรที่จะใช้เป็นข้อบ่งชี้ในการให้ 131I treatment ที่มากกว่า
37 GBq.
สิ่งบ่งชี้ที่สำคัญคือ การมีสารรังสีในก้อนเนื้องอกจึงจะเหมาะสมในการใช้สารรังสีไอโอดีน ทั้งนี้เพราะ บางครั้งมะเร็งธัยรอยด์
อาจจะเปลี่ยนแปลงจาก ชนิด Differentiated ซี่งสามารถจับรังสีไอโอดีนเป็น Undifferentiated
ที่ไม่จับสารรังสีไอโอดีน ในกรณีเช่นนี้ นอกจากไม่ได้ประโยชน์แล้ว อาจจะเพิ่มโทษในต่อเนื้อเยื่ออื่นๆ
และเพิ่มอัตรามะเร็งทุติยภูมิได้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น