วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

มิติใหม่ของการใช้ความร้อนเฉพาะที่ก้อนเนื้องอก - การใช้ความร้อนกระตุ้นภูมิคุ้มกันบำบัด สำหรับมะเร็งที่มีการกระจาย


ความร้อนสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันบำบัดสำหรับมะเร็งที่มีการกระจายแล้ว

เป็นที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันการใช้ความร้อนเพื่อการรักษาโรคมะเร็งเริ่มมีบทบาทมากขึ้น โดยใช้ร่วมกับการรักษามาตรฐาน ทั้งการฉายรังสีและยาเคมีบำบัด ในขณะเดียวกันก็มีรายงานที่พบว่าผลการใช้ยาเคมีบำบัดบางชนิดที่มีผลการรักษามะเร็ง ผ่านขบวนการของภูมิคุ้มกันบำบัด แต่ด้วยเหตุที่การใช้ยาเคมีบำบัดนั้น อาจมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงเริ่มมีการศึกษาเกี่ยวกับผลการใช้ความร้อนในการักษา และพบสิ่งที่น่าสนใจ คือ การให้ความร้อนเฉพาะที่ในก้อนมะเร็ง (Local Tumor Hyperthermia) เป็นการทำให้เกิดกระบวนการทางระบบภูมิคุ้มกันขึ้น

กระบวนการกระตุ้นภูมิคุ้มกันบำบัดโรคมะเร็งด้วยความร้อนเฉพาะที่

อุณหภูมิที่ระดับ 39-45 องศาเซลเซียส จะเกิดการหยุดการแบ่งตัวและทำลายเซลล์ โดยจะขึ้นอยู่กับระดับอุณหภูมิ และระยะเวลาที่ได้ ซึ่งเราเรียกว่า Thermal Dose เมื่อเซลล์ได้รับอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะทำให้คุณลักษณะของผนังหุ้มเซลล์เปลียนแปลงไป ทำให้ส่งผลกระทบต่อรูปร่างของเซลล์ และสารต่างๆในเซลล์ เช่น โซเดียม แคลเซียมมีความไม่สมดุลย์เกิดขึ้น


ที่น่าสนใจ คือกระบวนการเหล่านี้ ไม่ได้แสดงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนในการเปลี่ยนแปลงกับการตายของเซลล์ ดังนั้นผลกระทบต่อเนื่องของโปรตีน จึงถูกพิจารณาว่าน่าจะเป็นผลการกระทบที่มีนัยสำคัญ แม้ในระดับอุณหภูมิที่ไม่สูงมากนัก            
        
แม้ว่าตัว DNA เอง จะไม่ถูกทำลายแต่สังเคราะห์ DNA ( Synthesis and Polymerization ) จะเป็นกระบวนการที่ไว และถูกรบกวนด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้ Cell Cycle Arrest หรือ วงจรการแบ่งตัวหยุดชะงัก ซึ่งแน่นอนที่สุดในการซ่อมแซมของเซลล์ ก็จะหยุด หรือ ลดลงไป ผลที่ปรากฏของเซลล์ต่อความร้อนจะเห็นในลักษณะ Necrosis และ Apoptosis  ซึ่งคือ การเน่าตายและเกิดโปรแกรมการตายของเซลล์

โดยความคิดและพื้นฐานของความรู้ทั่วไป มีความชัดเจนที่ว่าอุณหภูมิที่สูงมีการทำลายเซลล์ และมีความพยายามที่จะเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นอีก แต่ผลที่เหนือความคาดหมายของกระบวนการภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น ทำให้มีการบำบัดรักษาไปอีกทางหนึง แนวทางการรักษา จึงมีแนวโน้มที่จะใช้อุณหภูมิระดับ 39-45 องศา ซึ่งเป็นอุณหภุฒิที่เพียงพอ โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนในการรักษา

ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ คือ การที่ต้องศึกษาต่อเนื่อง เพราะในการศึกษาเบื้องต้นเป็นการจำเพาะในบางกลุ่มเซลล์ ที่ยังไม่สามารถใช้หลักการนี้ในเซลล์ทุกชนิด ในกระบวนการเกิดขึ้นนั้น เป็นการศึกษาที่แตกต่างกันในมุมมองของผู้วิจัย ที่สนใจในทางต่างๆกัน เช่น ผลต่อเซลล์เยื่อหุ้มโปรตีนที่เรียกว่า Heat Shock Proteins ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อเซลล์ภูมิคุ้มกัน เช่น NK cell เป็นต้น

เนื่องจากในรายละเอียดมีความลึกซึ้งที่ต้องค้นคว้าต่อเนื่อง ผมขออนุญาตินำเสนอตารางด้านบน เพื่อให้ท่านที่สนใจศึกษาต่อจากเอกสารที่อ้างอิงได้นะครับ

แหล่งข้อมูล: Seiko Toraya-Brown, Steven Fiering. Local tumor hyperthermia as immnunotherapy for metastatic cancer. Int J of Hyperthermia. 2104:30(8); 531-539.

           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น