ภาพประกอบจาก : http://www.sharecare.com/health |
ถึงแม้มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในสตรีไทย แต่ก็มีโอกาสการรักษาหายสูงมากกว่า 90 % ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกสามารถมีชีวิตยืนยาว เกิน 10 ปี จะเรียกว่าหายขาดก็ได้ แต่ก็จะมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มีรอยโรคที่ยังท้าทายต่อการรักษา แม้จะได้รับการรักษาจากยาเคมีบำบัดชนิดต่างๆอย่างเต็มที่ หรือ ได้รับการฉายรังสี หรือ การผ่าตัด และเกิดสภาวะที่ มีรอยโรคที่ผนังทรวงอก เป็นแผล บางคนมีกลิ่นเหม็น หรือ บางคนเป็นในลักษณะลุกลามแผ่กว้างไปเรื่อยๆ สภาวะเหล่านี้ ล้วนเป็นฝันร้ายของทั้งผู้ป่วยและแพทย์ผู้รักษา
นับว่ายังโชคดีที่ปัจจุบัน
มีการพัฒนารูปแบบยาใหม่ๆ
ทำให้ยารักษามะเร็งทีใช้รักษาเป็นมาตรฐานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ได้แก่ การทำยา Doxorubicin ในรูปแบบ Liposome ซึ่งมี รายงานที่จะเข้าสู่ก้อนมะเร็งได้ดีขึ้น ประสิทธิภาพการรักษาดีขึ้น ขณะเดียวเครื่องการรักษามะเร็งด้วยความร้อน (Hyperthermia) ก็สามารถกำหนดพลังงานที่จะให้ความร้อนในระดับ
39-42 องศาเซลเซียส
ซึ่งมีรายงานการศึกษาที่นำทั้งยา และความร้อน (Hyperthermia)
มาร่วมกันรักษา ทำให้เกิดผลการรักษาที่ทวีคูณของผลแต่ละอย่างจากการเสริมผลการรักษาซึ่งกันและกัน
รายงานการศึกษานี้
เป็นผลงานร่วมกันของ มหาวิทยาลัย North
Carolina กับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอีกหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา โดยทดลองให้การรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีรอยโรคการกลับมาเป็นใหม่ที่ผนังทรวงอกนานเกินกว่า
6 เดือน และ 44% มีการกระจายของโรคในตำแหน่งอื่นๆด้วย
ให้ได้รับยา Liposomal Doxorubicin ในขนาดต่างๆกัน ตั้งแต่
20- 50 มิลลิกรัม ร่วมกับ Hyperthermia หรือความร้อนที่ระดับ 40-42
องศา เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
พบว่าปริมาณยาที่ขนาด
50 mg/m2 จำนวน 6
ครั้งห่างกัน 21-35 วัน ร่วมกับความร้อน ให้ผลการตอบสนองต่อการรักษาถึง 48 % โดยมีถึง
17% ได้ผลในระดับรอยโรคหายหมด
ทั้งนี้ไม่มีปัญหาเรื่องภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา ทำให้เกิดความหวังสำหรับผู้ป่วยในกลุ่มนี้
ที่จะมีโอกาสควบคุมโรคได้ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยผลการรักษาที่ดี
กลุ่มผู้วิจัยได้สรุปว่าควรจะขยายการศึกษาต่อในรอยโรคที่รุนแรงน้อยกว่านี้ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้โอกาสการหายของผู้ป่วยสูงขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งความหวังในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่โชคไม่ดีที่มีธรรมชาติของโรคที่รุนแรง
เกินกว่าการรักษามาตรฐานแบบปกติได้
(อ้างอิงจาก
International Journal of Hyperthermia 2014;30:285-294.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น