วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

กรณีศึกษาในผู้ป่วยมะเร็ง (ตอนที่ 1)

เรื่องการเขียนบอกเล่าตัวอย่างอาการผู้ป่วยนั้น เป็นเรื่องที่มีประโยชน์  แต่เรื่องความลับในอาการผู้ป่วย เป็นเรื่องสำคัญ  ดังนั้นภาพบางภาพที่จะนำเสนอ อาจจะไม่ชัดเจนมากนัก รวมถึงเรื่องบางเรื่องอาจจะไม่ละเอียดเพียงพอ แต่เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการนำไปเป็นกรณีศึกษาสำหรับผู้ป่วยรายต่อๆไปได้บ้าง  ผมจึงต้องขอขอบพระคุณท่านผู้ป่วยทุกท่านมา ณ ที่นี้

ที่ผมนำมาเสนอ เพื่อช่วยเป็นครูให้กับพวกเราที่อยู่ในวงการแพทย์ เพราะการเรียนรู้แต่ทฤษฎีจะสู้ของจริงไม่ได้ และบางครั้งไม่ได้ง่ายนัก ที่จะมีโอกาสในการเรียนรู้หรือพบตัวอย่างผู้ป่วยลักษณะนั้น อีกทั้งการเป็นกรณีศึกษาสำหรับผู้ป่วยท่านอื่นซึ่งมีอาการคล้ายคลึงกัน นำไปไตร่ตรอง ช่วยในการวางแผนการรักษาได้เป็นอย่างดี
                     
หวังว่าผลบุญวิทยาทานต่างๆ จะช่วยให้ผู้ป่วยท่านเหล่านี้ สามารถดำเนินชีวิตอย่าง มีความสุขทุกด้านทั้งตนเองและครอบครัวครับ
                   
วันนี้ผมขอนำเรื่องผู้ป่วยท่านหนึ่ง อายุ 50 ปี มาตรวจที่โรงพยาบาลด้วยเรื่องอาการไอติดต่อมา 10 วั   ไม่มีไข้ น้ำหนักลด ต่อมเกิดไอเป็นเลือด เหนื่อย นอนไม่หลับ
                   
ประวัติเดิม เมื่อ 1 ปีก่อน มีปัญหาทางเดินอาหาร แน่นท้อง น้ำหนักลด ได้รับการตรวจโดยการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร  (Gastroscope) ผลการส่องกล้องไม่พบความผิดปกติอะไร เพียงแต่ผลเลือดในตอนนั้น  Tumor Marker CA 19-9 สูงเล็กน้อย แพทย์ได้แนะนำให้ติดตามผลเลือดเป็นระยะ โดยให้คำอธิบายว่า  Tumor Marker ไม่ได้เป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกว่าต้องเป็นมะเร็ง แต่ทว่าต้องติดตามตวจเพิ่มเติม  ถ้ามีการสูงขึ้นของระดับ Tumor Marker  อย่างต่อเนื่อง  อาจต้องตรวจค้นด้วยการวินิจฉัยอื่นๆ
                   
คงจะเป็นด้วยภาระกิจ  หรือเหตุผลอื่น ผู้ป่วยท่านนี้จึงขาดการติดตามการตรวจ  ตามที่หมอแนะนำ
                   
ด้วยประวัติอดีตและประวัติปัจจุบันดังกล่าวคือ ไอมาก ไอเป็นเลือด หลังจากที่ได้รักษาทางด้านอายุรกรรม 2 ครั้ง อาการไอไม่ดีขึ้น 
                    
ร่วมกับผลการตรวจร่างกาย ไม่พบความผิดปกติอะไรเป็นพิเศษ ต่อมน้ำเหลืองไม่โต การตรวจในช่องท้องอยู่ในเกณฑ์ปกติ
                   
ผลการตรวจเลือด CBC ซึ่งเป็นการบ่งบอกอย่างง่ายของเม็ดเลือดแดงที่จะบอกความซีด หรือ ภาวะขาดเลือดและจำนวนเม็ดเลือดขาว ที่จะบ่งบอกสภาวะการติดเชื้อ รวมทั้งเกร็ดเลือด พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ (Hb 13.2  WC 5.35  N 62 L25 M10  Plt 171,000)
                   
ในขณะที่ผลเลือดที่ใช้ในการหาโอกาสที่จะเป็นมะเร็งนั้นสูงขึ้น ได้แก่  CEA 12.4 (0- 5) CA125 65 (0-35) CA 19-9  50 (0-35)
                    
ที่สำคัญ คือ ผลเอกซเรย์ปอด พบการกระจายตัว ของบริเวณที่ผิดปกติทั่วไป ดังรูป (เป็นจุดขาวทั่วไปในปอดทั้ง 2 ข้าง)


เมื่อประมวลทั้งหมดแล้ว  สิ่งที่แพทย์คิดถึงและเป็นห่วงมาก คือ มะเร็งกระจายมาที่ปอด  เพราะไอเป็นเลือด ไม่มีไข้ ผลเลือดไม่แสดงถึงการติดเชื้อ  มีประวัติการตรวจเลือดที่ผิดปกติเมื่อ 1 ปี ก่อน โดยไม่เคยตรวจวินิจฉัยหรือติดตามมาก่อน ครั้งนี้ ก็ยังคงขึ้นสูง แม้จะไม่มาก แต่ก็ขึ้นหลายตัว ทั้ง CA 19-9 , CA 125 และ CEA

ผู้ป่วยควรจะได้รับการอธิบายอย่างไร
แล้วจะตรวจ หรือ รักษาอะไรเพิ่มเติม
                     
กรุณาอ่านต่อบทความหน้าครับ
กรณีศึกษาในผู้ปวยมะเร็ง (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น