วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ข่าวดีจากกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับการรักษามะเร็ง


ช่วงนี้มีข่าวดี 2 เรื่องสำหรับวงการมะเร็ง  


เรื่องแรก เป็นเรื่องของกรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข  แถลงผลงานวิจัย และเตรียมต่อยอดการใช้ความร้อนรักษามะเร็งร่วมกับยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งตับ และมะเร็งเต้านม ซึ่งทั้ง 2 ชนิด พบเป็นอันดับหนึ่งในผู้ชาย และผู้หญิงไทย

โดยในรายละเอียดของข่าวจาก Nation แถลงโดย นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ และ นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ  ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ โดยมีหลักการทำงานโดยใช้ความร้อนที่ระดับ 42-43 องศาเซลเซียส ตรงไปที่เซลล์ใช้คู่กับยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 พบว่าผู้ป่วย ร้อยละ 22 มีการตอบสนองจนก้อนมะเร็งยุบหมด และกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้าย พบว่าระยะเวลาเฉลี่ยการมีชีวิตรอดของผู้ป่วยร้อยละ 25 ที่ตอบสนองต่อการรักษา มีอัตราการรอดชีวิตอยู่ที่ 15.3 เดือน ซึ่งหากรักษาด้วยวิธีปกติ มีอัตราการอยู่รอด ที่ 2.7 เดือน เท่านั้น

นับเป็นข่าวดีที่อาจจะเป็นความหวังให้ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ได้

ข่าวที่ 2 เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเป็นความก้าวหน้าในการบริการ ที่ไม่เพียงแต่การรักษาทางกายเท่านั้น แต่ยังดูแลจิตใจทั้งผู้ป่วยและญาติ   ซึ่งที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลก เมื่อวันที่14-19 พ.ค. 2557 ได้ให้ความสำคัญในประเด็นนี้เช่นกัน โดยการนำร่องในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ 16 แห่ง   ซึ่งได้เปิดการอบรมที่โรงพยาบาลราชวิถี โดย ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข แก่แพทย์พยาบาล เภสัชกร นักสังคมสงเคราะห์ นักโภชนาการ กว่า 250 คน

ทั้งนี้ ในหลายโรงพยาบาลของกรมการแพทย์ได้จัดสถานที่พยาบาลแบบกึ่งบ้าน และแยกเป็นอาคาร รวมทั้งสร้างจิตอาสามาคอยดูแล เพื่อให้ผู้ป่วย และญาติได้มีกิจกรรมร่วมกันได้มากขึ้น/ โดยจะจัดให้มีบริการอย่างทั่วถึง ในประเทศไทยเราจะมีกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งและไตที่เป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะมะเร็ง ทั้งนี้ โรคมะเร็งจัดเป็นปัญหาที่ใหญ่ เนื่องจากในระยะ 10 ปีทีผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งถึงปีละ 60,000 คน และเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ ทรมานมาก

ทั้ง 2 เรื่องนับเป็นก้าวสำคัญในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งให้มีโอกาสหายจากโรค หรือ คุณภาพชีวิตที่ดี แม้จะเป็นในระยะสุดท้ายก็ตาม




    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น