วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

มารู้จักเครื่องฉายรังสี True Beam นวัตกรรมใหม่สำหรับการฉายรังสี

มารู้จักเครื่องฉายรังสี True Beam  นวัตกรรมใหม่สำหรับการฉายรังสี

การรักษาด้วยรังสี เป็นหนึ่งในการรักษาหลักของโรคมะเร็ง ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าจนกระทั่งเพิ่มผลการรักษาและลดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา  เช่น   กลุ่มโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ มะเร็งปอด เพิ่มโอกาสการรักษาในโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ในอดีต เช่นมะเร็งตับ  และลดการผ่าตัด เช่นมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งในสมอง เป็นต้น ดังที่ทราบมาแล้ว  ในนวัตกรรมใหม่สำหรับการฉายรังสีที่ต้องการความถูกต้องแม่นยำสูง พัฒนาการฉายรังสีแบบสามมิติที่ให้ปริมาณรังสีที่สูงต่อครั้ง โดยจำนวน ครั้งของการฉายลดลง สามารถให้ปริมาณรังสีรวมที่สูงขึ้นต่อก้อนเนื้องอกและลดปริมาณรังสีที่จะโดนเนื้อเยื่อปกติลง  โดยเฉพาะในเทคนิคที่เรียกว่า  Stereotactic Body Radiotherapy หรือ SBRT  ต้องการเครื่องฉายรังสีที่มีความแรงและเร็ว  ซึ่งหมายถึงได้ปริมาณรังสีครบถ้วน ในระยะเวลาอันสั้น  ซึ่งจะส่งผลให้การรักษาถูกต้องแม่นยำ เพื่อจะรักษาโรคมะเร็งในอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่มีการเคลื่อนไหว เช่น ปอด ตับ อวัยวะในช่องท้อง เป็นต้น

เครื่องฉายรังสี True Beam 
เครื่องเร่งอนุภาค True Beam ซึ่งเป็นเครื่องที่ไม่มีอุปกรณ์กรองรังสี (Flattening Filter Free)  จึงเป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่ตอบสนองในการ  ทั้งนี้เนื่องจากในธรรมชาติของรังสีที่ออกมาจากเครื่องกำเนิดรังสีจะเป็นรูปคล้ายกระสวยพุ่งออกมา แต่ด้วยความแรงของรังสีที่กระทบพื้วผิวที่ไม่เท่ากัน   ทำให้ยากแก่การคำนวนรังสี  ในอดีต จึงมีตัวกรองและปรับรังสีให้สม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถคำนวนรังสีได้ง่าย แต่ด้วยการมีตัวกรอง ทำให้ต้องสูญเสียรังสีไปบางส่วน ทำให้ความแรงของรังสีลดลง  ในปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ จึงทำให้สามารถคำนวนรังสีที่เป็นรูปกระสวยได้ แม้จะมีความแรงไม่เท่ากัน ทำให้ได้ปริมาณรังสีที่สูงในเวลาที่สั้นกว่า ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาในอวัยวะที่เคลื่อนไหว   


Marta Scorsetti และคณะได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้และความปลอดภัยในการใช้รังสีจริงที่ไม่มีอุปกรณ์กรองรังสี (Flattening Filter Free) มาใช้ในเทคนิค SBRT ด้วยเครื่องกำเนิดรังสี True Beam มาใช้ทางคลินิกในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งในอวัยวะต่างๆ เช่น ปอด ตับ และต่อมน้ำเหลืองในท้อง, ต่อมหมวกไต, ตับอ่อน พบว่าสามารถนำมาใช้กับผู้ป่วยเหล่านี้ได้ผลดี ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันอยู่ในเกณฑ์ต่ำและมีความปลอดภัยสูง ดังรูป


Scorsetti et al. Radiation Oncology 2011, 6:113
Hazelrig-Salterb Radiation Oncology Center ได้ศึกษาเกี่ยวกับเวลาที่ใช้ในการฉายรังสี เปรียบเทียบระหว่างเครื่องที่ไม่มีอุปกรณ์กรองรังสี (Flattening Filter Free) กับเครื่องที่มีอุปกรณ์กรองรังสี (Flattening Filter) พบว่าการฉายรังสีโดยใช้รังสีจริงที่ไม่มีอุปกรณ์กรองรังสีช่วยลดระยะเวลาในการฉายรังสีให้สั้นลงไม่ว่าจะเป็นการฉายโดยเทคนิคใด


Beam On Time = Time from first beam on to last beam off, inclusive of intra-fraction imaging. (Prendergast, et al. 2011)
ด้วยความก้าวหน้าของเครื่องฉายรังสี และเทคนิคการวางแผนการรักษา ทำให้รังสีมีบทบาทที่ชัดเจนมากขึ้นในการรักษามะเร็งที่มุ่งหวังให้หายขาด โดยมีภาวะแทรกซ้อนน้อย  สามารถทดแทนการผ่าตัดในหลายอวัยวะ และเพิ่มความหวังในกลุ่มมะเร็งที่ไม่สามารถรักษาได้ในอดีต
อย่างไรก็ตามการตัดสินใจการใช้เครื่องมือหรือวิธีการใดจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เพราะความจำเพาะและความจำเป็นในแต่ละโรค แต่ละระยะจะไม่เหมือนกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น