ท่านผู้อ่านที่ติดตาม Blog
นี้ คงทราบกันดีถึงแนวทางใหม่ ในการนำความร้อนมาใช้ในการรักษามะเร็งปากมดลูก โดยมีรายงานเป็นระยะๆ ก่อนหน้านี้
วันนี้
ผมขอนำรายงานการศึกษาแบบสุ่ม หรือ Randomized Study โดย Yoko Harima และคณะ
จาก Kansai Medical University ร่วมกับอีกหลายสถาบันในประเทศญี่ปุ่น ที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร International Hyperthermia Online เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2016 ซึ่งนับว่าเป็นการศึกษาที่เป็นมาตรฐานในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1B-4A โดยเปรียบเทียบกลุ่มที่ได้รับความร้อนและไม่ได้รับความร้อน ร่วมกับการรักษาแบบมาตรฐานด้วยการฉายรังสี
และยาเคมีบำบัด Cisplatin
การศึกษานี้มาจากหลักการพื้นฐานที่
1. มาตรฐานการรักษามะเร็งปากมดลูกในระยะดังกล่าว คือการฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด (Cisplatin)
2. รายงานการศึกษาแบบสุ่มในการเปรียบระหว่างการฉายรังสีอย่างเดียวและการฉายรังสีร่วมกับความร้อน หรือ Hyperthermia
ที่แสดงถึงผลอย่างชัดเจนทั้งการตอบสนอง และอัตราการอยู่รอด (Overall Survival) ว่าการใช้ความร้อนร่วมด้วยดีกว่าการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว
3. รายงานการศึกษาที่ความร้อนเพิ่มผลการรักษามะเร็งด้วย Cisplatin
4. การใช้เทคนิค Trimodal โดยเป็นการรักษาร่วมกันระหว่างการใช้ความร้อน (Hyperthermia) + การฉายรังสี
+ ยาเคมีบำบัด ในมะเร็งปากมดลูกที่กลับเป็นใหม่ พบว่าสามารถเพิ่มผลการตอบสนอง
โดยไม่มีผลข้างเคียงที่มากขึ้น
คณะแพทย์จากหลายสถาบันในประเทศญี่ปุ่น จึงร่วมกันศึกษาโดยสุ่มเปรียบเทียบในผู้ป่วยที่มีลักษณะของโรคมะเร็งปากมดลูกที่มีลักษณะโรคและสภาพร่างกายที่คล้ายคลึงกัน จำนวน 101 คน
โดยฉายรังสีเป็นแบบมาตรฐาน
1.8-2 Gy ต่อครั้ง ประมาณ 5 สัปดาห์ ร่วมกับการใส่แร่มาตรฐาน ยาเคมีบำบัดที่ใช้เป็น Cisplatin 30-40mg/m2 สัปดาห์ละครั้ง
แหล่งการกำเนิดความร้อน ใช้คลื่น Radiofrequency (RF) จากเครื่อง Thermotron
RF8 ในพลังงานช่วง 800-1500 วัตต์ ทั่วทั้งอุ้งเชิงกรานในวันที่ฉายรังสี โดยมีการวัดความร้อนในช่องช่องคลอดและ
ทวารหนักร่วมด้วย ทั้งนี้มีกำหนดอุณหภูมิที่ 43 องศา
ผลการศึกษา
ระยะเวลาที่มีชีวิตรอด (Overall Survival) ในกลุ่มที่ได้รับความร้อนร่วมด้วยมากกว่าที่ 77.8% :
64.8%
ระยะเวลาที่ปลอดจากโรค (DFS) ในกลุ่มที่ได้รับความร้อนร่วมด้วยมากกว่าที่ 70.8% : 60.6%
ระยะเวลาที่ปลอดจากโรค
(LRFS) ในกลุ่มที่ได้รับความร้อนร่วมด้วยมากกว่าที่ 80.1% :71%
การตอบสนองแบบสมบูรณ์
หรือ การหายของรอยโรคทั้งหมด (Complete Response) ในกลุ่มที่ได้รับความร้อนร่วมด้วยมากกว่าที่ 88% :77%
ซึ่งสรุปได้ว่า สามารถเพิ่มทั้งผลการควบคุมโรคและอัตราการให้หายของโรค รวมทั้งระยะเวลาที่รอดชีวิตมากกว่าโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่พิ่มขึ้น แต่น่าเสียดายว่าจำนวนผู้ป่วยที่นำมาศึกษานั้น อาจจะมีจำนวนน้อยเกินไป จึงไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นทีมวิจัยจึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มจำนวนจำนวนผู้ป่วยเพื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
โดยความเห็นส่วนตัวของผม
การเพิ่มผลการรักษาโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มขึ้น ย่อมมีประโยชน์ โดยเฉพาะการที่โรคหายหมด หรือการที่ไม่มีรอยโรคกลับมา เป็นผลต่อจิตวิทยาอย่างมาก
รวมทั้งการลดอาการที่สร้างความกังวลใจในผู้ป่วย ผมเชื่อว่าโอกาสการมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีนัยสำคัญ
หากมีการศึกษาที่มากขึ้น อาจจะเห็นชัดเจนในบางกลุ่ม เช่น กลุ่มที่รอยโรคขนาดใหญ่ หรือมีสภาวะขาดออกซิเจนซึ่งมักจะดื้อต่อรังสี
หรือ ยาเคมีบำบัด
ดังนั้นการจะใช้ความร้อนหรือไม่ จึงอยู่ในดุลยพินิจและความเข้าใจร่วมระหว่างแพทย์ ผู้ป่วยและญาติที่ต้องเลือกและตัดสินใจครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น