วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

กรณีศึกษาในผู้ป่วย (ตอนที่ 3)


แม้ภาพเอกซเรย์ปอดและ PET แสดงถึงความรุนแรงของโรค แต่เมื่อเราดูรายละเอียดต่อไปในทางกายวิภาค จากภาพ CT จะเห็นได้ว่า เรามีความหวังที่ดีขึ้น เนื่องจากการเพิ่มของสารเภสัชรังสีที่เราอธิบายตั้งแต่ต้นแล้วว่ามีโอกาสเกิดได้ทั้งเซลล์มะเร็งและการอักเสบซึ่งเมื่อรวมภาพทางกายวิภาคดังรูปที่แสดงให้เห็นเป็นเนื้อปอดที่มีลักษณะของการอักเสบมากกว่าการเป็นก้อนมะเร็ง ซึ่งนำไปสู่การวินิจฉัยที่น่าจะเป็นมากที่สุด  คือ ปอดอักเสบ


ผู้ป่วยท่านนี้ จึงได้รับการรักษาเรื่องปอดอักเสบด้วยยาปฏิชีวนะ ซี่งโรคตอบสนองต่อการรักษาเป็นอย่างดี อาการไอลดลง เสมหะดีขึ้น ซึ่งผลการเอกซเรย์ที่ 2 สัปดาห์ต่อมาเป็นดังภาพ


ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนจากภาพครั้งก่อน
                  
นับเป็นความโชคดีอย่างยิ่งของผู้ป่วย ที่หายจากโรค โดยไม่มีคำว่ามะเร็งมาสร้างความกังวลใจ ทั้งๆที่แพทย์กังวลเป็นอย่างยิ่ง

บทเรียนในกรณีศึกษานี้ คือ
1. แม้สิ่งที่ตรวจพบน่าสงสัยว่าเป็นมะเร็ง แต่ต้องตรวจวินิจฉัยอย่างถ้วนถี่ด้วยทีมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญตามโรค วิเคราะห์ความเป็นไปได้ โดยเฉพาะการอักเสบ
2. การอธิบายขั้นตอนการตรวจวินจฉัยด้วยเหตุผล จะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจ และตัดสินใจเข้ารับการรักษา อย่าปล่อยให้ผู้ป่วยต้องเข้าใจผิดและเลิกรับการรักษา
3. การตรวจใดๆ โดยเฉพาะ Tumor Marker เป็นเพียงข้อบ่งชี้ว่ามีโอกาสจะเป็นมะเร็ง แต่ยังไม่ใช่การวินิจฉัยที่แน่นอน    
4. PET/CT ที่มีการเพิ่มของรังสี เป็นได้ทั้งการอักเสบ และมะเร็ง
5. ขอให้ผู้ป่วยทุกท่านใจเย็น อย่าได้หวั่นวิตกกังวลเกินเหตุ จนกว่ารายงานผลของแพทย์จะออกมา ซึ่งไม่ได้โชคร้ายเสมอไป
6. แพทย์จะอธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่า แม้ผลการตรวจ หรือ ภาพเอกซเรย์จะดีอย่างชัดเจน แต่ความสำคัญ คือ การสังเกต ติดตาม การรับการตรวจ ตามที่แพทย์นัด โดยเฉพาะผลเลือดที่ยังผิดปกติอยู่   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น