ภาพประกอบจาก: https://www.sciencedaily.com/releases/2016/04/160418145458.htm |
นับเป็นรายงานข่าวทางโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2559 ที่ม่ความน่าสนใจมาก
เพราะเป็นการรักษาที่ง่าย สะดวก แต่ต้องเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะที่ I และ II หรือ ที่เรียกว่า Low หรือ Intermediate risk เท่านั้นนะครับ
ในข่าวนี้ เป็นการกล่าวถึงรายงานการศึกษา จากศูนย์การแพทย์ UT Southwestern Medical Center ซึ่งรายงานผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก จำนวน 91 คน ที่ได้รับการรักษาด้วยเทคนิค SBRT (Stereotactic Body Radiation Therapy) และติดตามการรักษาที่ระยะ 5 ปี พบว่าผู้ป่วยหายจากโรคถึงร้อยละ 98 มีเพียง 1 รายที่กลับเป็นใหม่ ทั้งนี้รายงานนี้ได้ตีพิมพ์ใน European Journal of Cancer
นับเป็นการรายงานครั้งแรก ที่ใช้เทคนิค SBRT ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
และติดตามการรักษาที่ระยะ 5 ปี เทคนิคนี้เป็นการฉายรังสีจากภายนอกในหลายทิศทางในมุมต่างๆกัน และรวมรังสีในเป้าหมายที่ต้องการ ทำให้ได้รังสีสูงเฉพาะในเป้าหมาย จึงมีความปลอดภัยต่อเนื้อเยื่อปกติโดยรอบ
รายงานนี้แสดงผลการรักษาที่สูงกว่าการใช้รังสีเทคนิคทั่วไป
หรือ แม้แต่การผ่าตัดที่มีอัตราการหาย ประมาณ 80 to 90 %ในขณะที่ภาวะแทรกซ้อนไม่แตกต่างกัน
Dr. Raquibul Hannan
ซึ่งเป็นผู้วิจัยหลักกล่าวว่า เป็นการรักษามะเร็งต่อลูกหมากระยะเริ่มแรก ที่มีศักยภาพสูง สะดวก ด้วยการฉายรังสีเพียง 5 ครั้ง เมื่อเทียบการการรักษามาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป
ได้แก่
1.การผ่าตัด ที่เรียกว่า Prostatectomy ซึ่งเป็นการผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากทั้งหมดออกในปัจจุบันนิยมใช้การผ่าตัด
โดยแขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic
Assisted Laparoscopic Radical Prostatectomy)
2. การฝังแร่ในต่อมลูกหมาก ที่เรียกว่า Brachytherapy
3. การฉายรังสีจากภายนอก 42
to 45 ครั้ง ใน 8-9 สัปดาห์
แต่ SBRT Therapyใช้เวลาการรักษาเพียง 5 ครั้ง
จึงทำให้ผู้ป่วย สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น
ในขณะเดียวกัน
ศาสตราจารย์ Dr. Robert Timmerman ผู้อำนวยการศูนย์ Annette Simmons
Stereotactic Treatment Center at UT Southwestern กล่าวสรุปว่า SBRT เป็นเทคนิคการฉายรังสีที่ดี สะดวก และเพิ่มศักยภาพการรักษา
จากการสัมภาษณ์
ผู้ป่วยรายหนึ่ง ซึ่งบ้านอยู่ห่างจากโรงพยาบาล 45 นาที เขากล่าวว่า สำหรับตัวเขาแล้ว
เวลาการรักษา 5 ครั้ง กับ 44 ครั้ง นั้น ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เขาจึงไม่ลังเลในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะแทรกซ้อนไม่แตกต่างกัน และเขารู้สึกดีมาก ที่ทุกอย่างกลับมาเหมือนปกติภายใน 10
วันหลังการรักษา
ความรู้สึกผิดปกติ หรือ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น ได้แก่ ความรู้สึกผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ ได้แก่
การกลั้นปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย หรือ ความรู้สึกแสบ รวมทั้งการระคายเคืองในลำไส้ใหญ่ส่วนตรง
อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นชั่วคราว และจะหายไปภายใน
4 สัปดาห์ หลังการรักษา ส่วนในระยะยาวนั้นพบได้น้อย ทั้งนี้อาการดังกล่าวพบได้ไม่แตกต่างจากการฉายรังสีมาตรฐาน
ส่วนปัญหาทางเพศ เช่น การลดลงของ Erectile Function หรือการแข็งตัวของอวัยวะเพศนั้น พบได้ ประมาณ 25% ซึ่ง Dr. Hannan กล่าวว่าน้อยกว่าการผ่าตัด และการฉายรังสีแบบมาตรฐาน
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากลุกลาม
อย่าเพิ่งเสียใจนะครับ เพราะขณะนี้ทางคณะผู้รายงานได้เริ่มขยายการศึกษาการใช้ เทคนิค SBRT นี้ ไปในผู้ป่วยในระยะลุกลามที่ระยะ
3 ด้วยความหวังที่จะได้ผลการรักษาที่ดีขึ้น
สรุปข่าวจาก Cancer News -- ScienceDaily18เมษายน2559
https://www.sciencedaily.com/news/health_medicine/cancer/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น