วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ความหวังของผู้ป่วย มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะแพร่กระจาย

เป็นที่ทราบกันดีว่าการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มแรกนั้นได้ผลดีมาก ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด หรือ การฉายรังสีที่มีเทคนิคแตกต่างกันมากมาย โดยมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่าในผู้ป่วยบางรายที่เสียชีวิตจากโรคอื่นๆ ตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากซ่อนเร้นอยู่ โดยไม่แสดงอาการใดๆ                 
ด้วยการตรวจค้นพบที่รวดเร็ว สะดวก ไม่ว่าจะเป็นการเจาะเลือดเพื่อหาระดับ PSA ในกระแสเลือด  การตรวจวินิจฉัยที่ง่ายผ่านการตัดพิสูจน์ชิ้นเนื้อ โดยอาศัยการตรวจอัลตราซาวด์ทางทวารหนัก

อย่างไรก็ตามก็ยังมีมะเร็งในระยะลุกลาม หรือระยะแพร่กระจายที่ยังเป็นปัญหาต่อผู้ป่วย ที่ผลการรักษายังไม่ดีนัก ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด การฉายรังสี การให้ฮอร์โมน หรือ ยาเคมีบำบัด 

ในการประชุม ECCO ประจำปี 2015 ครั้งนี้ ศาสตราจารย์ Nicholas James จากมหาวิทยาลัย Warwick ประเทศอังกฤษ รายงานการรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก จำนวน 2,962 ราย ที่อยู่ในระยะลุกลามหรือแพร่กระจาย โดยการแบ่งผู้ป่วยเป็น กลุ่มโดยวิธีการสุ่ม ในชื่อการศึกษาที่เรียกว่า STAMPEDE

จาการศึกษาพบว่า ผลในเรื่อง Symptomatic Skeletal Event หรืออาการทางด้านกระดูก ไม่ว่าจะเป็นการปวดหรือหัก จากการกระจายของโรคจะลดลงในกลุ่มที่ได้รับยา Doxetexel โดยทำให้อาการเกิดช้าลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P<0.0001 แต่การเพิ่มยา Zoledronic ซึ่งเป็นยาที่ใช้ทั้งรักษาหรือป้องกัน การเกิดอาการทางด้านกระดูก ก็ไม่ได้ประโยชน์ ในกลุ่มนี้ ทั้งอัตราการอยู่รอด หรือ การเกิดอาการทางกระดูก

การศึกษานี้สอดคล้องกับการศึกษาของ Dr. Claire Vale จาก University College London ประเทศอังกฤษ ที่เพิ่มยา Doxetexel ในกลุ่มผู้ป่วยที่รักษาด้วยฮอร์โมน ที่เรียกว่า Androgen Deprivation Therapy ( ADT ) นำไปสู่การเพิ่มอัตราการอยู่รอดที่ระยะ 4  ปี  10 %  (จาก 40% เป็น 50 %)  และลดอัตราการล้มเหลวจากการรักษาลง 15% แต่อัตราการอยู่รอดจะไม่มีนัยสำคัญในกลุ่ม M0 หรือกลุ่มที่ไม่มีการแพร่กระจาย ซึ่งจะคล้ายกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม  Bisphonate  ซึ่งจะเพิ่มอัตราการอยู่รอดในกลุ่มที่มีการกระจาย แต่จะได้ประโยชน์น้อยในกลุ่ม MO

โดยสรุป ในการประชุม ECC ครั้งนี้ ได้ไขข้อข้องใจว่าการเติม ยาเคมีบำบัด Doxetexel จะได้ประโยชน์ในกลุ่มมะเร็งต่อมลูกหมากที่ต้องรักษาด้วยฮอร์โมนหรือไม่ ซึ่งนับเป็นการปรับแนวทางการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะลุกลาม ซึ่งท่านสามารถที่จะปรึกษาแพทย์ผู้รักษาของท่านได้ครับ  เพราะต้องประเมินความเหมาะสมในการได้รับยาด้วยความรอบคอบครับ


                                                                                                              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น