|
ภาพประกอบจาก : http://www.sharecare.com/health |
เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งแล้ว คำถามที่ผู้ป่วยและญาติมักอยากจะรู้คำตอบ คือ จะอยู่ได้นานแค่ไหน
แต่เป็นคำถามที่ยากจะตอบได้ชัดเจน ทำให้เจตนคติของผู้ป่วยจึงยังคงเหมือนเดิม มะเร็งยังเป็นโรคที่น่ากลัว เป็นแล้วต้องตาย แม้ด้วยความรู้สึกว่าปัจจุบัน การวินิจฉัย การรักษาได้พัฒนามากขึ้น
แต่ข่าวแบบใบทุเรียนเทศ ก็ยังเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยมะเร็งแสวงหา เพราะทุกอย่างคือความหวัง
วันนี้ผมจะนำเรื่อง อัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยมะเร็ง ปี 2015 มาให้ความหวังกับทีมสู้มะเร็งของเรา
เพราะผลการรักษามะเร็งในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงแสงสว่างปลายอุโมงค์แล้ว แต่แสงนั้นมีความเรืองรองมากขึ้น ตลอดเส้นทางที่เราต้องเดินไป
ข่าวแรกมาจาก Andrew M. Seaman ซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวที่มีชื่อเสียงทางด้านสาธารณสุข ของรอยเตอร์ (Reuters Health) ได้รายงานข่าว โดยอ้างอิงงานวิจัยของ Dr. Wei Zheng จากมหาวิทยาลัย
Vanderbilt ใน
Nashville สหรัฐอเมริกา ที่รายงานใน JAMA Oncology เมื่อเดือนเมษายน ปี 2015 ว่าอัตราการอยู่รอดจากโรคมะเร็งในสหรัฐอเมริกาพัฒนาดีขึ้น โดยสัดส่วนการมีชีวิตรอดดีขึ้น
ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง ในช่วงปี 2005 ถึง 2009 ที่มีอายุระหว่าง 50 ถึง 64 ปี มีความเสี่ยงของการเสียชีวิตภายใน 5 ปี ลดลง 39% ถึง 68% เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่มีลักษณะ
เดียวกัน ที่ได้รับการวินิจฉัยในปี 1990 ถึง1994 ผู้วิจัยกล่าวว่าเป็นการลดลงอย่างมาก ทั้งนี้เป็นการศึกษาจากจำนวนผู้ป่วยมากกว่า 1 ล้านคน โดยระหว่างปี 1990 ถึง 1994 พบว่า ผู้ป่วยมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนตรง มีอัตราการอยู่รอดที่ 5 ปี เท่ากับ 58%, มะเร็งเต้านม 83% และ 7 ปี สำหรับมะเร็งตับ, 13
% สำหรับมะเร็งปอด, ประมาณ5% สำหรับตับอ่อน, ประมาณ 91 % สำหรับมะเร็งลูกอัณฑะ และ 47 % สำหรับมะเร็งรังไข่
แต่สำหรับผู้ป่วยที่วินิจฉัยในช่วง 2005 ถึง 2009 อัตราการอยู่รอดของมะเร็งแต่ละชนิดเพิ่มมากขึ้น ยกเว้นมะเร็งรังไข่ เมื่อเปรียบเทียบ 2 ช่วงเวลา พบว่าความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในปัจจุบันลดลงอย่างมาก สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ใหญ่ส่วนตรงลดลง
43%, มะเร็งเต้านม 52%, มะเร็งตับ 39% มะเร็งตับอ่อน 68%, มะเร็งปอด 25%, และ
และมะเร็งลูกอัณฑะ 27%
ทั้งนี้ ในกลุ่มคนอายุน้อยจะมีความชัดเจนมาก เมื่อเทียบกับคนที่มีอายุระหว่างอายุ 75 ถึง 85 ปี โดยมีข้อสังเกตว่า อาจจะมาจากข้อจำกัดในการการใช้ยาเคมีบำบัด
หรือ การผ่าตัด โดยเฉพาะกลุ่มวิจัยที่จำกัดอายุผู้ป่วย ซึ่งในอนาคตน่าจะให้โอกาสกับผู้สูงอายุได้เข้าร่วมในการศึกษาวิจัยการรักษาใหม่ๆ
ตามแนวทางของวิทยาศาสตร์ มากกว่าเรื่องวัย ส่วนมะเร็งรังไข่ คงต้องศึกษาต่อไป เนื่องจากว่าโดยรวมไม่ดีขึ้น
แต่ดีขึ้นในกลุ่มผิวขาวเท่านั้น
ความทันสมัยของการรักษา การได้รับผลการวินิจฉัยที่รวดเร็ว จะนำไปสู่การลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตลง
ในอีกด้านหนึ่งคือ รายงานโดย
Cancer
Research UK ในประเทศอังกฤษ พบว่าอัตราการอยู่รอด
10 ปี ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ได้เพิ่มขึ้น
2 เท่าตัว จาก 24% เป็น 50% ซึ่งหมายถึง
ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยในขณะนี้ว่าเป็นมะเร็งจะมีโอกาสอยู่รอดได้ ถึง 10 ปี
50%
แต่ความต่างที่สำคัญ
คือ ชนิดของมะเร็งโดยอัตราการอยู่รอดจะสูงถึง 98% ในมะเร็งลูกอัณฑะและเมื่อรวมกลุ่มที่พบบ่อย
เช่นมะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อัตราการอยู่รอด ก็ยังสูงถึงร้อยละ 80 แต่จะลดเหลือเพียง 1% สำรับมะเร็งตับอ่อน
หรือ 20 % สำหรับมะเร็งปอด หลอดอาหารเป็นต้น
อย่างไรก็ตาม
ครึ่งหนึ่งของมะเร็งที่พบบ่อยจะมี อัตราการอยู่รอด
10
ปี
จากบทนี้ ทำให้เรามั่นใจได้ว่า มะเร็งเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้
ในอดีต เราพูดถึงอัตราการอยู่รอด 2 ปี บางโรคที่แย่มากๆ เช่นมะเร็งตับ
ถึงขนาดพูดว่า 6 เดือน ต่อมา
มาตรฐานจะเป็นอัตราการอยู่รอด 5 ปี ปัจจุบัน เราพูดกันเป็น 10 ปี
ท่านผู้อ่านที่เคารพ ไม่ว่าจะเป็นอะไร
ชนิดไหน ขอให้ร่วมมือกันต่อสู้ มองไปข้างหน้า ด้วยความหวังครับ
อีกหน่อยอาจจะมีความรู้สึก ว่าโรคมะเร็งเหมือนไข้หวัดใหญ่ ป้องกันได้
รักษาได้ ซึ่งปัจจุบัน
เราก็เริ่มมีการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งกันแล้วใช่ไหมครับ
ขออภัยนะครับที่บทนี้มีตัวเลขมากไปนิด
แหล่งข้อมูล : JAMA Oncology, online February 19, 2015
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น