ภาพประกอบจาก: http://www.nationalbreastcancer.org/breast-cancer-radiation-therapy |
ปัจจุบัน การรักษามาตรฐานในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก จะเป็นการผ่าตัดเทคนิคเก็บรักษาเต้านม
ร่วมกับการฉายรังสีทั้งเต้า
การฉายรังสีมาตรฐานแต่เดิม (CF-WBI ) คือ
ครั้งละ 2 เกรย์ วันละครั้ง รวม 25 ครั้ง หากต้องการเติมรังสีเฉพาะที่ฐานเนื้องอก
ก็จะใช้เวลาทั้งสิ้นรวม 6 สัปดาห์
ส่วนอีกทางเลือกที่ดีกว่า คือการใช้ปริมาณรังสีต่อครั้งสูง ในช่วงระยะเวลาที่สั้นกว่า ที่เรียกว่า Hypofractionated Whole Breast Irradiation (HF-WBI) ซึ่งเคยรายงานในประเทศอังกฤษและแคนนาดา ที่แสดงผลการรักษาที่เท่ากันทั้งอัตราการควบคุมโรค
และอัตราการกลับเป็นใหม่
วันนี้ผมจะนำเสนอสองรายงานล่าสุด เมื่อ 10
สค. 2558 ใน JAMA
Oncology ซึ่งเป็นการศึกษาการใช้ปริมาณรังสีสูงในระยะเวลาสั้น ในเชิงของความสามารถที่จะลดภาวะแทรกซ้อน และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก เมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐานเดิม
Dr. Simona Shaitelman และคณะ จากสถาบันการแพทย์ MD
Anderson Cancer Center มหาวิทยาลัย เทกซัส ได้รายงานการศึกษาในผู้ป่วยที่มีอายุ
40
ขึ้นไป ที่ได้รับการผ่าตัดรักษาเต้านมและต้องรับการฉายรังสี โดยสุ่มแบ่งเป็น 2
กลุ่ม
กลุ่มที่ 1: จำนวน 149 คน ได้ CF-WBI หรือรังสีมาตรฐาน
(ปริมาณรังสีรวม 50 Gy ในการฉาย 25 ครั้ง) และ 138
คนได้รับการรักษาแบบปริมาณรังสีต่อครั้งสูง
HF-WBI (ปริมาณรังสีรวม 42.56 Gy ในการฉาย 16 ครั้ง )
จากการติดตามที่ระยะ 6
เดือน พบว่าในช่วงต้น ผู้ป่วยที่ได้ HF-WBI มีปัญหาเรื่องการอักเสบของผิวหนัง
(Acute Dermatitis) น้อยกว่า, การคัน (Severe Itching), การเจ็บที่เต้านม
(Breast Pain) ความอ่อนเพลีย
(Fatigue) และ การมีผิวสีที่คล้ำขึ้น (Hyperpigmentation) น้อยกว่ากลุ่มที่ได้ CF-WBI
จากการติดตามผู้ป่วยเป็นเวลา 6 เดือน
พบว่าในช่วงต้น ผู้ป่วยที่ได้ HF-WBI มีปัญหาน้อยกว่ากลุ่มที่ได้ CF-WBI เช่นการอักเสบของผิวหนัง (Acutedermatitis) การคัน (Severe Itching) การเจ็บที่เต้านม (Breast Pain) ความอ่อนเพลีย (Fatigue) และ
การมีผิวสีที่คล้ำขึ้น (Hyperpigmentation)
แต่ที่ระยะ 6 เดือน จะไม่พบความแตกต่างของภาวะแทรกซ้อน
แต่ทว่า กลุ่ม HF-WBI จะมีกำลังใจที่ดีเพราะรู้สึกอ่อนเพลีย
น้อยกว่า และรู้สึกแข็งแรงกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่ม CF-WBI ทำให้กลับไปใช้ชีวิตปกติที่มีคุณภาพได้ดีเร็วขึ้น
ข้อคิดเห็นของ Dr. Shaitelman และทีม ที่สำคัญอย่างยิ่ง
คือ การรักษาด้วยระยะเวลาสั้น น่าจะเป็นทางเลือกหลักสำหรับ ผู้หญิงที่ได้รับการฉายรังสีมะเร็งเต้านม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมารดาที่มีภารกิจต้องทำงาน
ทั้งในบ้านและนอกบ้าน ชึ่งทางคณะผู้วิจัยได้มีการตั้งคำถามว่า ทำไมเราไม่เปลี่ยนแปลงให้สิ่งที่ดีกว่า เป็นทางเลือกแก่ผู้ป่วย ไม่เพียงแต่เป็นทางเลือก แต่ควรเป็นแนวทางแรกในการอธิบายผู้ป่วย ที่ควรจะสื่อสารให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
ไว้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตัดสินใจ
ในอีกรายงานที่ศึกษาโดย Dr. Reshma Jagsi จากมหาวิทยาลัย Michigan-Ann
Arbor ที่ประเมินในผู้ป่วย 2,309 คน โดย 570
คนการฉายรังสีแบบ รับ HF-WBI และ1,731 รับแบบ CF-WBI ซึ่งการศึกษานี้ สนับสนุนการศึกษาของ
Dr. Shaitelman ที่เหมือนกันทั้งในระยะระหว่างการรักษาและติดตามที่
6 เดือน
ทีมการวิจัย
ได้กล่าวว่า เป็นการปรับที่ง่ายและสะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการฉายรังสีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกที่เก็บรักษาเต้านมไว้
ในความเห็นเพิ่มเติมจาก Dr. Shyam K. Tanguturi จาก Harvard Radiation Oncology Program และ Dr. Jennifer R. Bellom จาก Dana-Farber Cancer Institute กล่าวว่า เป็นรายงานที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยรายงานของ Dr. Jagsi et al เป็นความจริงในสังคมที่ที่ทำในกลุ่มประชากรใหญ่
แต่มีข้อที่เป็นคำถามในเชิง เรื่องการทำการศึกษาแบบสุ่ม ซึ่ง Dr. Shaitelman และผู้ร่วมงาน ได้ศึกษาแบบสุ่มอย่างถูกต้อง แต่มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนผู้ป่วย
กล่าวโดยสรุป เมื่อการควบคุมโรคได้ผลเทียบเท่ากัน แต่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า ค่าใช้จ่ายต่ำกว่า การใช้ HF-WBI ควรเป็นสิ่งที่น่าจะได้รับการพิจารณา ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้ทำความเข้าใจให้ผู้ป่วยทราบว่าวิธีการรักษาแบบไหนจะเหมาะสมและมีผลดีต่อผู้ป่วยครับ