![]() |
ภาพประกอบจาก : http://www.thehealthsite.com/diseases-conditions |
นับเป็นข่าวดีที่ประกันสังคมเพิ่มสิทธิยาจำเป็นในบัญชียาพิเศษ ที่สามารถเบิกได้สำหรับผู้ประกันตนอีก
4 รายการ
ที่เกี่ยวข้องมีอยู่ 3 รายการด้วยกันที่เป็นยาสำหรับมะเร็ง คือ Trastuzumab, Nilotinib และ Dasatinib
ต้องถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมาก ในส่วนของข้อบ่งชี้ และการใช้
ผมคงไม่เข้าไปในรายละเอียด เพราะแพทย์ผู้รักษาคงจะเป็นผู้ดูแลในส่วนนี้ ข้อคิดเห็นในวันนี้
คือ ช้าไปหรือไม่ เพราะในเรื่องการเพิ่มสิทธิการเบิกนี้ เป็นข้อที่เรียกร้องมา
ตั้งแต่ปี 55 แล้ว
กว่าจะถึงวันนี้ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งก็คงสูญเสียโอกาสการใช้ยาเหล่านี้ไปแล้ว
แต่ด้วยเหตุผลที่ต้องทำความเข้าใจ คือ ในการควบคุมรายการยานั้น ต้องมีมุมมองทางด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทยด้วย แม้เราจะรู้สึกและมีคำถามว่าน่าจะให้ได้
ทำไมไม่เห็นความสำคัญของชีวิตหรือ ซึ่งบางครั้งหมอบางท่านก็หงุดหงิด
เมื่อบางรายการที่เคยใช้ ถูกตัดออกจากบัญชียาหลักแห่งชาติ ผมคิดว่าทุกคนให้ความสำคัญ แต่ต้องรับว่า
ยาบางตัว ไม่ได้ประโยชน์ชัดเจน
บางคนเรียกว่า ยาผีบอก ยาหลอก
จึงมีการทดลองมากมายเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นผลดีอย่างชัดเจนก่อน อย่างไรก็ตามผมขอยืนยันว่า การแพทย์ไทยนั้นไม่ได้เป็นรองใครอาเซียนและถือว่าก้าวหน้าทีเดียว
ในบางประเทศเพิ่งจะมีเครื่องฉายรังสีเท่านั้น
ปัญหาที่สำคัญ คือความแตกต่างในแต่ละสิทธิประโยชน์ และความพยายามให้ทุกสิทธิเท่าเทียมกันเป็นเรื่องยากมากที่จะไปสู่จุดร่วมที่เหมาะสม
เพราะคำตอบจากแต่ละกลุ่มสิทธิประโยชน์ ล้วนมีเหตุผลของตัวเอง หากมีการอนุมัติในส่วนราชการ ก็จะเกิดความรู้สึกในกลุ่ม สปสช. (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) หรือ บัตรทอง อาจจะมีความรู้สึกว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
หรืออาจหมายถึงสิทธิของผู้มีรายได้น้อย ทำไมไม่มีสิทธิเหมือนข้าราชการ หรือแม้แต่กลุ่มประกันสังคม
ซึ่งมีความรู้สึกว่าตนเองต้องจ่ายเงินร่วมประกันตนทุกเดือน ทำไมจึงไม่มีสิทธิ
เห็นหรือไม่ครับว่า
ทุกมุมมองล้วนแต่มีเหตุผลของตนเอง
ถ้าจะมองในมุมข้าราชการ ก็จะบอกว่า ข้าราชการเงินเดือนเท่าไร การที่เขายอมรับเงินเดือนน้อย เพราะสิ่งที่พวกเขาคาดหวังคือความมั่นคงในชีวิต
สวัสดิภาพ สวัสดิการ เมื่อยามที่เจ็บไข้ได้ป่วยในขณะที่กลุ่มเอกชนที่เงินเดือนสูงกว่าก็เข้าระบบประกันสังคม
ส่วนกลุ่มที่เป็นสวัสดิการรัฐ คือ บัตรทอง ก็ไม่ต้องจ่ายอะไร
ทางแก้ที่น่าสนใจ และนำไปสู่ความยุติธรรมมากที่สุด น่าจะเป็นระบบการร่วมจ่ายเหมือนกับระบบประกันสุขภาพ
หรือระบบประกันชีวิต ที่จ่ายคืนตามสัดส่วนหรือมูลค่าของการจ่ายค่าประกัน หากคุณเลือกบริการที่มากกว่าก็ต้องจ่ายเพิ่ม
เพราะถ้าขาเข้าต่างกัน ขาออกก็จะแตกต่างกัน หรือให้ดูตัวอย่างการเดินทาง ที่ทุกคนไปถึงจุดหมายเดียวกัน
หากสิทธิประโยชน์ของคุณ เป็นชั้นประหยัด คุณอยากนั่งชั้นธุรกิจ ก็ต้องจ่ายแพงกว่า
โดยการจ่ายเพิ่ม
เราจะดูแลสุขภาพของประชาชนให้ดีที่สุด ในเชิงการรักษา ที่แม้ไม่มีเงินเลย เราก็ต้องรักษาให้ดีที่สุด
แต่ความแตกต่างในเชิงบริการนั้นควรที่ต้องมีการจ่ายเพิ่มเติมที่เหมาะสม เพื่อความสมดุลย์ของการรักษาระบบเอาไว้ ทั้งนี้ต้องมีระบบการควบคุมให้เป็นไปตามนโยบายอย่างชัดเจน
อย่าให้มีการฉวยโอกาสอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ เมื่อฟรี
ก็ใช้อย่างไม่ระมัดระวัง การเบิกจ่ายของทุกกองทุน จึงประสพปัญหาในการที่จะหายา
หรือวิธีการรักษาให้ทั่วถึงได้
ขอบคุณครับที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ครับ
ตอบลบถูกใจค่ะขอให้แพทย์เมืองไทยเจริญๆนะค่ะหากคิดถึงเร่ืองการดูแลคนไข้มากกว่าค่ารักษา
ตอบลบ